วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ย้ายบ้านไป www.chiangmaifx.com นะครับ

ย้ายบ้านไป www.chiangmaifx.com นะครับ
มีทั้งเนื้อหาใหม่ๆ และ มีการรวบรวมผลงานเข้าไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกันนะครับ
เชิญตามไปอ่านได้ที่นั่นเลยครับผม

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 8 : ตัวอย่างกราฟจริง พร้อมคำอธิบาย และ วิธีประเมิน



[Price Action] Part 8 : ตัวอย่างกราฟจริง พร้อมคำอธิบาย และ วิธีประเมิน
                ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 7) ได้ดูตัวอย่างการดู Price Action ของแท่งเทียนจากกราฟจริงกันไปค่อนข้างเยอะ, ตอนนี้ก็มาดูตัวอย่างเพิ่มเติมกันอีก ซึ่งจะช่วยเสริมประสบการณ์จริงเพิ่มเติมกันครับ

                ใน Fig 1.15, บริเวณเลข 1 มีแท่งคู่แฝดกลับตัว ลง-ขึ้น ซึ่งลงไปทดสอบ Trend Channel Line, หากมองย้อนไปก่อนหน้าจะมาถึงจุดกลับตัว มีการขายอย่างดุเดือดและต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ, 16 แท่งจากในทั้งหมด 17 แท่งที่เกิดเป็น Lower High, โดยปกติเป็นไปไม่ได้ที่จะขายอย่างรุนแรงขนาดนั้นตลอดไป ดังนั้นพอเกิด climax (จุดต่ำสุด) แล้วมักจะตามด้วย การปรับตัวขึ้น ซึ่งมักจะเกิดต่อเนื่องหลายแท่งเทียน, ปกติเกิดอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงถ้าเป็นกราฟ 5 นาที

ใน Fig 1.16, แท่ง 4 เป็นแท่งคู่แฝด กลับตัว ขึ้น-ลง หลังจากทะลุ High เดิมของเมื่อวาน, ทะลุ Bull Trend Channel ขึ้นมา และ หลังจาก ทะลุ small flag (แท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมชายธง) บริเวณแท่ง 3 ขึ้นมาด้วย
                แท่ง 1 แท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น แต่ไม่ใช่นัญญาณกลับตัวที่ดี เพราะสองแท่งลงก่อนหน้านั้นมี โมเมนตัมการลงมากเกินไป, หลังจากคู่แฝดแรก ก็เกิดแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น อีกคู่ ซึ่งการเกิดคู่ต่อเนื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง, การเกิดแท่งเทียนสี่แท่งที่ overlap กันแบบนี้มันเป็น Bear Flag และ ในตลาดหมี ในภาวะ sideway คุณไม่ควรเข้าซื้อที่ราคาปิดของ แท่ง 1 เพราะมันจะกลายเป็น ด้านบนของช่วงราคา sideway, แม้ว่า รูปแบบแท่งคุ่เป็นสัญญาณกลับตัว แต่การหยุดการวิ่งครั้งแรก หลังจากการ Break out ปกติมักเป็นแค่การพักตัว และ ตามด้วยการวิ่งต่อในทิศเดิม (Note ผู้แปล: พูดอีกแบบหนึ่งว่า หลังจากเริ่มวิ่งอย่างแข็งแรง การหยุดครั้งแรก มักไม่ใช่การกลับตัวทันที ดังนั้นอย่าเพิ่งสวนเทรนทันที)
                แท่ง 2 แท่งหมีขนาดใหญ่, เป็นแท่งที่ให้ตาม short ที่ดี, เพราะมีคนที่พลาด Buy ไว้ที่ High ของแท่งคู่แฝด (ราคาปิดของ แท่ง 1)  และราคาก็มาพักตัวที่ EMA พอดี, จึงเป็นจุด Follow ตามเทรนขาลงที่ดี, แต่ถ้าจะรอให้จบแท่ง 2 ก่อนค่อยเข้าอาจจะช้าไปหน่อยเพราะ จะเห็นว่า แท่ง 2 นี้มีราคาปิดที่ต่ำกว่า Low ของแท่งก่อนหน้ามันมาก และ มีคน short นำไปแล้วก่อนที่จะปิดแท่ง 2 นี้ ด้วยเหตุผลว่า เห็น Low หลังจากแตะเส้น EMA (Note ผู้แปล : เหมือนกับว่า ราคาได้มาพักที่ EMA แล้วก็แสดงอาการพักพอแล้ว และส่งสัญญาณจะลงต่อด้วยการเห็น Low ใหม่)

                ใน Fig 1.17,  แท่ง 1 เป็นแท่งหัวตัน ไร้หางทั้งบน และ ล่าง เกิดในภาวะที่เห็นแรงขายเริ่มมากขี้นเรื่อยๆ, เป็นสัญญาณที่ชัดเจนสำหรับการให้ sell ตามเทรนไป เพราะแท่ง 1 นี้แสดงไว้ชัดว่า เกิดการขายอย่างรุนแรงตั้งแต่เริ่มแท่งเทียนจนถึงจบ โดยไม่มีวี่แววของแรงซื้อเลย ดังนั้นแรงขายก็น่าจะเดินหน้าต่ออีก ซึ่งกรณีแบบนี้ ปกติจะต้องเข้าออเดอร์ sell ให้เร็วหน่อยเพราะราคาจะวิ่งเร็ว
                แท่ง 2 เป็นแท่งหัวตัน ไร้ใส้ด้านบน เกิดในเทรนขาลง, แต่เพราะก่อนหน้านั้นราคาไม่ได้ทิ้งดิ่งลงมา ในกรณีนี้ จึงไม่มีเหตุผลพอในการ sell, แต่ก็มีเหตุผลอื่นคือ เกิด inside bar ก่อนหน้าในตลาดหมี จึงสามารถ sell ได้เช่นกัน
                แท่ง 3 เป็นแท่งกระทิงหัวตันทั้งบน และ ล่าง, แต่ก่อนหน้านั้นเป็นตลาดหมี จึงไม่ใช่สัญญาณสำหรับเข้า buy ทันที, (Note ผู้แปล : ไม่เหมือนแท่ง 1 ที่เป็นแท่งลงตัน ในตลาดหมี ซึ่งให้ sell ตามได้ทันที), ถ้าดูแท่ง 3 คู่กับก่อนหน้า จะเห็นว่าเป็นแท่งคู่แฝดด้วย ซึ่งก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักในการเข้า buy ได้อีก จึงพอจะเข้า buy ได้ อย่างน้อยก็สำหรับ การเล่นสั้นๆ (scalping)
                ส่วน แท่ง 4 กับ แท่ง 5 ดูผิวเผิน หรือ ดูแท่งเดี่ยวๆ จะคิดว่าเป็นสัญญาณให้ตามเทรน เพราะเป็นแท่งหัวตัน, แต่ที่จริงแล้ว ไม่มีความหมายใดๆในการตีความตามเทรนเลย เพราะพวกมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งอย่างรุนแรงของราคา (Note ผู้แปล : ผมจะพูดอยู่เสมอ ว่า การดูสัญญาณต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดู บริบท สิ่งแวดล้มด้วยเสมอ, แท่งเทียนก็เช่นกัน อย่าดูและจดจำแท่งเดี่ยวๆ, ต้องศึกษาทั้งหน้าตาแท่งเดี่ยว ,สิ่งแวดล้อมทั้งก่อนหน้ามัน และตำแน่งของมันด้วยเสมอ จึงจะครบถ้วน)
               

                Fig 1.18, ในกราฟ 5 นาทีอันนี้ มีตัวอย่างที่ดี ที่พบได้บ่อยๆ หลายอัน
                แท่ง 1 เป็น โดจิ ลำตัวขนาดจิ๋ว และเป็นแท่งที่ 3 แล้วที่มีการ
overlap กันมาก, หากเข้า Buy ที่ราคาเหนือ แท่ง 1 นี้คงเป็นการกระทำที่โง่ทีเดียว เพราะ EMA เองก็บอกอยู่ว่าราคาอยู่ต่ำกว่า EMA
                แท่ง 2 เป็นแท่งกลับตัวที่ดี เพราะเกิด new Low ก่อน แล้วย้อนกลับมาไกล ทำให้เกิดหางยาว และ ยังย้อนกลับขึ้นไปต่อ ทำให้ได้ลำตัวขนาดพอสมควรด้วย แต่ก็มีสัญญาณแสดงความอ่อนแอบ้าง โดยมีใส้ด้านบน ซึ่งแท่งต่อมาได้ลบล้างความอ่อนแอนี้ ด้วยแท่งเทรนขนาดใหญ่ ซึ่งทะลุ Trend Line ออกไปด้วยกำลัง
                แท่ง 3 เป็นแท่ง out side bar, ที่เกิดหลังจากการหยุดพัก และ เป็นแท่ง Break out ทำ new High ของวัน, ซึ่งปกติแล้ว out side bar แบบนี้จะเกิดขึ้นเร็วมาก จนตามเปิดออเดอร์กันไม่ค่อยทัน
                แท่ง 4 เป็น แท่งโดจิที่เกิดที่ new High, แต่โมเมนตัมจากการขึ้นนั้นแรงมาก และ แท่งกลับตัวนั้นอ่อนแอ (หางล่างยังยาว) จึงยังไม่ควรเข้า sell ตรงนี้, ควรจะรอสัญญาณ sell ครั้งที่สองก่อน (ปกติจะเกิดทีหลังจากนี้ ในระลองคลื่นต่อๆไป)
                แท่ง 5 เป็นแท่งกระทิง
out side bar ที่เกิดหลังจาก การพักตัว (Pull back) สู่ EMA ครั้งแรก ในตลาดกระทิงดุ จึงเป็นจุดที่น่า Long ตามเทรนเดิมมาก
                แท่ง 6 เป็นแท่งกลับตัวที่ค่อนข้างเล็ก แต่เป็นสัญญาณ sell ครั้งที่สอง (ต่อเนื่องจาก ตอนเกิดแท่ง 4 เป็นสัญญาณ sell แรก) และ เป็นการขึ้นมาของคลื่นระลอกที่สอง, นับตั้งแต่ (ขึ้นมาจาก แท่ง 2 มาพักที่ แท่ง 4 เป็นคลื่นแรก), แล้วก็ (ขึ้นจาก แท่ง 5 มาถึง แท่ง 6 เป็นระลองที่สอง), ซึ่งคลื่นระลองสองแบบนี้มักจะเกิดการกลับตัว
                แท่ง 7 เป็น รุปแบบ ii ซึ่งอยู่ในเทรนลง ที่คาดว่า อย่างน้อยก็ต้องลงไปถึง EMA และ ควรจะข้าม EMA ได้ด้วย เพราะราคาเคยเข้าทดสอบ EMA แล้วครั้งหนึ่ง ตอนแท่ง 5, ซึ่งถ้าเข้า sell ที่นี่ต้องวาง Stop Loss ไว้ที่เหนือ High ของ ii นี้, โดยปกติแล้ว หากราคาใกล้กันมากเกินไป (มีพื้นที่ให้ราคาแกว่งน้อยไป) ก็อาจจะวาง Stop Loss ไว้ไกลกว่า High เล็กน้อย, สำหรับคนที่เข้า Long ไว้ที่เหนือราคา High ของแท่ง 7 เขาจะเปลี่ยนฝั่งมา sell เมื่อราคาต่ำกว่า Low ของ 7, แท่งต่อมาจึงเกิด Out side bar ขนาดใหญ่ตามมา
                แท่ง 8 เป็น Lower High (เทียบ 8 กับ 6 ตามภาพ) และเป็นโดจิ, ปกติแล้วเราไม่ควร sell ที่ขอบล่าง ของโดจิ เพราะโดจิแสดงภาวะ side way, แต่การเกิดแท่งโดจิสามแท่งติดกัน มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการกลับตัว (Note ผู้แปล : เกิดโดจิหลายแท่ง เกิดนานๆ หมายความว่า แรงที่ขึ้นมาก่อนหน้านี้ได้หมดลงอย่างสมบูรณ์แล้ว เพราะการแสดงเกิดภาวะ sideway อย่างยาวนาน ย่อมหมายถึง แรงขึ้นกับลงเท่ากันแล้ว พร้อมจะไปด้านไหนก็ได้แล้ว) โดจิสามแท่งนี้ จึงทำหน้าที่เหมือนรูปแบบกลับตัว ii จึงมีเหตุผลที่ดีพอควรในการเข้า Sell
                แท่ง 9 เป็นแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น (ซึ่งถ้าคุณจิตนาการออก มันคือแท่งเทียนกลับตัวหางล่างยาวใน time frame ใหญ่กว่า คือ 10 นาที) ที่มาทดสอบ Low เดิมที่บริเวณ แท่ง 5, และก็เป็นคลื่นระลอกที่ 2 นับตั้งแต่ แท่ง 6 ลงมา (Note ผู้แปล : คลื่นระลอกสอง มีเหตุผลตามที่ผุ้แต่งบอกไปก่อนหน้านี้ว่า มีโอกาสกลับตัวสูง เมื่อมีอีก 2 เหตุผลคือ เป็นแท่งคู่แฝดแสดงการกลับตัว และ เป็นการทดสอบ Low ของแท่ง 5 , รวมเป็น 3 เหตุผลส่งเสริมกัน จึงน่าเข้า Buy มาก โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ EMA นั่นเอง)
                แท่ง 10 เป็นแท่งหมี และมี
Low เท่ากันในตลาดหมี จึงเป็น Double Bottom Twin Short ที่ให้เปิด short เมื่อราคาทะลุ Low เหล่านี้ลงไปได้
                แท่ง 11 เกิดที่คลื่นลงระลอกที่สาม, ก่อนแท่ง 11 เป็นแท่ง โดจิขนาดใหญ่, ส่วนแท่ง 11 เองมีหางล่างยาว ลำตัวเล็ก และ overlap กับแท่งก่อนหน้ามันอยู่เยอะ จึงควรตีความว่าโอกาสจะเกิดภาวะ sideway และรอดูตลาดต่อไป มากกว่าที่จะไปมองว่าแท่ง 11 เป็นแท่งกลับตัวทันที

                (Note ผู้แปล : การเรียนรู้จากตัวอย่างจริง ดูเหมือนจะมีประโยชน์มากทีเดียว, ตัวผมเองก็ชอบดูตัวอย่างจริงพร้อมคำอธิบายแบบนี้, ตอนหน้าก็จะยังมาดูตัวอย่างจริงแบบนี้กันต่ออีกครับ)

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 7 : อีก 4 ตัวอย่างการดูแท่งเทียนจากกราฟจริง



[Price Action] Part 7 : อีก 4 ตัวอย่างการดูแท่งเทียนจากกราฟจริง
                ตอนที่แล้ว ได้มาเริ่มดูตัวอย่างกราฟจริงพร้อมการวิเคราะห์ต่างๆ, คราวนี้มาดูตัวอย่างกราฟจริงเพิ่มเติมกันอีกสัก 4 ตัวอย่างกัน

ใน Figure 1.11, ตำแหน่ง 5ii เป็นจุดเข้า Buy แบบความเสี่ยงสูง (Note ผู้แปล: คนที่ไม่รู้ว่าอะไรคือ ii ให้ย้อนไปอ่าน บทแปล Part 5 กับ 6 ของบทแปลชุดนี้) เพราะมันเป็นการทดสอบ Double Bottom และเห็นรูปแบบการกลับตัวที่ 5ii แต่ก็ยังเสี่ยงเพราะ ยังไม่ผ่าน Trend line ที่กดไว้ลงมาจาก 4,
จากนั้นเมื่อมาถึง 6ii จะเป็นจุดเข้า Buy ที่สอง ที่เกิดเป็นสามเหลี่ยมชายธง ที่ลากสามเหลี่ยมมาได้ไกลจนทะลุ Trend Line ที่กดไว้ลงมาจาก 4 สำเร็จ
                แท่ง 7 เป็นจุดเข้า Buy ที่สาม, ที่เกิดจาก Failed-Failed (Failed แรกคือ ราคาล้มเหลวที่จะ Break ขึ้นไป, จากนั้นก็พยายามลง แต่ก็ล้มเหลวในการลงเป็น Failed ที่สอง) ซึ่ง Failed ที่สองเป้นสิ่งที่ค่อนข้างเชื่อได้
                ปกติ หากเกิด Double Bottom แล้ว ราคาย้อนขึ้นไป จากนั้นถ้ามีการพักตัวลงอีกรอบ จะมีการพักลงมาลึกมากว่า 50% (บ่อยครั้งที่จะลงไปถึงล่างสุดของ Double Bottom แล้วกลายเป็น Triple Bottom) แล้ว มักจะเกิด Higher Low และจะเป็นรูปโค้งที่ Low ใหม่นั้นๆ, มุมมองหนึ่งจะอธิบายว่า มันเป็นการสะสมกำลัง, อีกมุมมองที่สำคัญจะอธิบายว่า ตลาดไม่สามารถทำ Lower Low ได้ในการพยายามครั้งที่สาม (ครั้งที่สอง พยายามตอน แท่ง 3, ครั้งที่สามยายามอีกตอน แท่ง 5), เมื่อไม่สามารถลงไปต่ำกว่าเดิมได้ แรงขายก็เริ่มลังเล และ แรงซื้อเริ่มเข้ามาแทนที่ในที่สุด


                ใน Figure 1.12, แท่ง 2 (แท่งเล็กๆก่อนหน้า แท่ง Bull ใหญ่) เป็นแท่งจิ๋ว ซึ่งเป็น Higher Low จึงเป็นจุดเข้า Buy ที่ดี ประกอบกับเหตุผลเรื่อง Failed Final Flag และ มันเองก็เกือบจะเป็น ii ด้วย, ส่วน สองแท่งก่อนหน้ามัน ยังไม่ได้ Break Down Trend Line เป็นจุดที่ยังเสี่ยงสูง ยังไม่ปลอดภัยที่จะเข้า Buy ที่ตรงนั้น
                สำหรับแท่ง
1 (แท่ง Reversal สีขาว), ยังไม่ใช่จุดเข้า Buy ที่ดี เพราะถ้าจะกลับตัวจริง ต้องการแท่ง Bull เต็มๆอีกหนึ่งแท่ง เพื่อเอาชนะ Bear Trend ที่แข็งแรงแช่นนี้ได้ (ก่อนหน้านี้ มีแต่แท่งแดงลงมาต่อเนื่อง)





                ใน Figure 1.13, กราฟใหญ่ด้านขวา (กราฟ 5 นาที) ที่บริวณ 1 เห็น iii และ ที่ 2 เห็น ii, ถ้าไปดูในกราฟเล็กด้านซ้าย (กราฟ 1 นาที) จะเห็นว่า ที่บริเวณ 1 คือ Double Bottom Pull Back (Note ผู้แปล : จะมองว่า เป็น Triple Bottom ก็ได้, แต่ผู้แต่งตั้งใจสื่อว่า เราเห็น Double Bottom ก่อนแล้ว จะเข้าทำตอนย่อครั้งที่สาม จึงเรียก Double Bottom Pull Back)
                ส่วน 2ii เป็นลักษณะ ที่ราคาพยายามทำ Lower Low ให้ต่ำกว่าแท่งแดงใหญ่ก่อนหน้า 2ii แต่ไม่สำเร็จ
                ปกติ
ii จะเป็นสัญญาณบอกการกลับตัว ในที่นี้คือกำลังลงมาอยู่แล้วเกิด ii จากนั้นก็กลับตัวย้อนขึ้นไป ซึ่งในภาพนี้ ทั้งสองกรณี คือ 1iii และ 2ii จะมีแท่ง Bull ตบท้าย ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีมากในการที่จะเปิด Long, เพราะใน ii ปกติแล้วจะมีแท่งเล็กที่ไม่ใช่ตัวบอกทิศที่ดี ดังนั้นการจะมีแท่งเทรนขนาดพอสมควรเป็นตัวจบอยู่ใน ii ที่ไปในทิศที่เราต้องการจึงเป็นสิ่งที่ดีมาก



                ใน Figure 1.14, แท่ง 1 (สีขาวเล็กต่อจากแท่งแดงใหญ่) เป็น Double Bottom Twin ในเทรนขาลง ( Low เท่ากันสองแท่งติด) แบบนี้ให้เปิด sell ที่ราคาต่ำกว่า Low 1 ช่องราคา, หรือ อาจจะ sell ที่ต่ำกว่า แท่งพักตัวสีขาวแท่งที่สอง ต่อจากแท่ง 1 ซึ่งเป็นการเข้าเร็วขึ้น เสี่ยงขึ้น
                แท่ง
2 (แท่ง inside bar สีขาวเล็ก) ก็เป็นลักษณะเดียวกับ แท่ง 1, วิธีทำเหมือนกับ แท่ง 1 (ให้เปิด sell เมื่อเห็นราคาต่ำกว่า Double Bottom Twin)
                แท่ง 3 (แท่งสีแดงตัน ก่อนหน้าแท่งขาวใหญ่) เป็น Double Top Twin ที่ควรจะเปิด Long, วิธีมองเหมือนกันแท่ง 1 เพียงแต่กลับจาก Trend ขาลงเป็น ขาขึ้น (Note ผู้แปล: นั่นคือให้เปิด Long เมื่อราคาสามารถทำ New High ได้เหนือกว่า Double Top Twin นั้น)

(Note ผู้แปล : ตอนนี้ได้ดูตัวอย่างกราฟเยอะ แบบจุใจกันเลยทีเดียว, คราวหน้าจะมาดูตัวอย่างเยอะๆแบบนี้อีก, โปรดติดตามตอนต่อไป ^_^)

-------------- แปลโดย Rojer CmFX, www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 7  ---------------

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 6 : ตัวอย่างการกลับตัวต่างๆจากกราฟจริง



[Price Action] Part 6 : ตัวอย่างการกลับตัวต่างๆจากกราฟจริง

ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 5)  เราได้พิจารณา Reversal Signal Bar แบบอื่นๆกันไป ส่วนตอนนี้จะมาดูรูปแบบเหล่านั้น ในสภาวะตลาดจริงกัน


ใน Fig 1.8, แท่ง 1 เป็นแท่งเทียนเล็ก หน้าตาเป็นแท่งกลับตัวขาลง แต่เป็นแท่งกลับตัวขาลง ที่ล้มเหลว, มันเกิดตามหลัง แท่งขาขึ้นขนาดใหญ่ที่ทะลุ Trading Range ขึ้นมา ในวันที่เป็นขาขึ้น (มองว่าเป็นขาขึ้นเพราะแท่งเทียนส่วนใหญ่ อยู่เหนือ EMA ที่ยกตัวขึ้นมาเรื่อยๆ) ถ้าใจร้อนเสี่ยงเข้า short ที่แท่ง 1 ทันที โดยไม่รอสัญญาณคอนเฟิร์ม ก็จะโดนกับดัก(นั่นคือการไม่รอให้ได้เห็นราคาต่ำกว่า ราคา Low ของแท่ง 1), การเล่น Counter Trend ในวันที่เทรนแข็งแรง มักจะโดนกับดักเช่นนี้บ่อยๆและจะกินทุนไปเรื่อยๆ, สำหรับคนที่ไปเข้าออเดอร์กับดักแบบนี้ เขาจะต้องยอม Stop Loss เมื่อราคาไปสูงกว่า High ของแท่ง 1 (ซึ่งการ Stop Short คือเป็นการเปิด Long ชนิดหนึ่ง) ณ จุดนั้นจึงเป็นจุดที่ดีในการเปิด Long เพราะจะมี Stop Short ทั้งหลายมาช่วยดันราคาขึ้นไปอีก, นี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่า เพียงแค่แท่งเทียนกลับตัวแท่งเดียวนั้น ไม่เพียงพอในการเปิดออเดอร์ Counter Trend เพราะเงื่อนไขต่อมายังไม่เกิด นั่นคือการได้เห็นราคาต่ำกว่า Low เดิม, สุดท้ายสัญญาณนั้นเลยกลายเป็น สัญญาณกลับตัวที่ล้มเหลว และ กลับไปเกิดสัญญาณเข้าออเดอร์ฝั่งตรงข้าม คือ เกิดสัญญาณเข้า Long แทน


ใน Fig 1.9, ชุดแท่ง Doji ทั้งก่อนหน้า และ หลัง แท่ง 1 นั้นไม่มีแท่งไหนเป็นสัญญาณที่ดีเลย เพราะพวกมันทั้งอยู่ตรงกลางของ ช่วงราคา sideway และ อยู่ใกล้กับ EMA ที่แบนราบ ซึ่งแสดงถึงภาวะ sideway สุดๆ
ส่วนแท่ง 3 เป็นแท่งเทรนขนาดยักษ์ ที่ทะลุ Low ของวัน และทะลุ Bear Trend Line ลงมาด้วย, จากนั้นเกิดแท่ง Bull inside bar ที่มีหัวบนตัน แปลได้ว่าแรงซื้อได้เริ่มเข้ามาอย่างรุนแรงและต่อเนื่องจนถึงเวลาปิดแท่ง นี่เป็นสัญญาณสำหรับการขึ้นที่สวยมาก อย่างน้อยก็ สำหรับรูปแบบการขึ้นแบบ สองขา (Note ผู้แปล : คาดว่าผู้แต่ง จะพูดถึงเรื่อง สองขา นี้เร็วๆนี้ เพราะพูดถึงสิ่งคล้ายๆกันนี้หลายรอบแล้ว แต่ยังไม่ได้มาชี้แจงรายละเอียด), และ แท่ง Bull inside bar (หลังแท่ง 3) นี้ยังอยู่ตำแหน่งขอบล่างของ Channel ด้วย จึงเป็นจุดเข้า Long ที่ดี โดยคาดหวังได้ว่า การขึ้นรอบนี้ควรจะย้อนขึ้นไปทดสอบจุดเริ่มต้นของ Channel คือแท่งเทียนเลข 2, ซึ่งภายหลังก็เฉลยว่า ไปถึงจริงๆ
ส่วนแท่ง 4 เป็นแท่งกลับตัวลงที่ล้มเหลว, เพราะเกิดแท่ง 5 ซึ่งเป็น Bull Outside Bar ตามหลังมา ในภาวะกระทิงจัดแต่เดิมอยู่แล้ว (Note ผู้แปล : ก่อนหน้าจะมาถึง แท่ง 4 และ 5, มีแต่แท่งเทียน Bull ล้วน เป็นขาขึ้นแบบชัดเจน ซึ่งเรียกได้ว่า ภาวะกระทิงจัด) ซึ่งตำแหน่งนี้ เป็น สัญญาณเข้าตาม Long ที่ดี, เทรดเดอร์อ่อนหัด อาจจะ Short ไว้ ตอนราคาลงมาต่ำกว่า แท่ง 4 เพราะไม่รู้ว่า ในภาวะกระทิงจัด ไม่ควรเปิด Short ถ้าไม่มีการแสดงพลังของหมีก่อน (พลังของหมี เช่น การ Break Trend Line ลงไปสำเร็จเป็นต้น)




ใน Fig 1.10, บริเวณก่อนแท่ง 3, ราคาได้เปิด Gap ลงมา ต่ำกว่า Low ของเมื่อวาน แล้ว ย้อนขึ้นไปเหนือ EMA, หากย้อนไปดูเมื่อวาน จะพบว่าราคาเคย Break Bear Trend Line ขึ้นไปถึงสามครั้ง จากนี้ไป จึงพอจะมีเหตุผลที่ดี หากคิดจะเปิด Long, แต่ก็ต้องรอสัญญาณทั้งสองอย่างให้ครบก่อนคือ  1.ให้รูปแบบเกิดสัญญาณซื้อ และ 2.เกิดแท่งเทียนกลับตัวสวย ซึ่งต้องมีทั้งคุ่ครบถึงจะเข้า Long ได้ในภาวะหมีเช่นนี้
แท่ง 3 เป็นแท่งที่ชัดเจนว่า ให้เข้า Long, เพราะกลับตัวขึ้นมาจาก Low ด้วยหน้าตา แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น, และที่ใกล้ๆกับจุดที่คาดว่าจะกลับตัวนี้  ก่อนหน้าไม่นานที่แท่ง 2 ก็เคยเกิดเหตุการณ์ Break Bear Trend Line ไว้แล้ว (ในภาพไม่ได้แสดง เส้น Bear Trend Line ไว้) ที่ตำแหน่งแท่ง 3 จึงเป็นสัญญาณให้เข้า Long
แท่ง 4 กับ แท่ง 6 สามารถใช้ในการสร้าง Trend Line แล้ว นำ Line แฝดไปวางอีกฝั่ง ที่ปลายแท่ง 5 เพื่อสร้าง Down Trend Channel ขึ้นมา, ที่ High ของ แท่ง 6 ตอนนั้นอาจจะเป็น สัญญาณเตรียม Long แต่ว่าไม่มีแท่ง Bull ยืนยันการ Long ตามมา จึงไม่สามารถเปิด Long ได้ ซึ่งในตลาดหมีถ้าอยากจะ Long จำเป็นต้องรอแท่งยืนยันก่อน
แท่ง 7 ได้สร้าง High เอาชนะแท่งก่อนหน้ามันสำเร็จ แต่ตอนปิดได้สีแดง ซึ่งกรณีนี้จะถือว่าเป็นแค่การเด้งกลับ (Pull back) ในภาวะที่เด้งขึ้นมาจาก การแตะขอบล่างของ Channel, ซึ่งเหตุผลนั้นยังไม่ดีพอที่จะเปิดออเดอร์ Long, แท่งเทียน Bull เป็นสิ่งที่ต้องการอีกอย่างในการจะเปิด Long ได้ในกรณีนี้เช่นกัน
ต่อไปลองดุที่บริเวณแถวๆ แท่ง 8, เริ่มจากเกิดแท่ง Bear ลงไปแตะขอบล่างของ Channel ซึ่งเป็นการการแตะครั้งที่ 2 (ครั้งแรกแตะบริเวณ แท่ง 7), จากนั้นเกิดแท่ง Bull inside bar ตามหลังแท่งแดงนั้น แล้ว เกิด small bull inside bar แท่งที่สองตามหลังอีกที (แบบที่มี inside bar สองแท่งติดแบบนี้เรียกรุปแบบ ii ซึ่งเป็นสัญญาณกลับตัวแบบหนึ่ง) ทั้งสองแท่ง ii นี้ นอกจากจะเกิดหลังจากแท่งแดงที่ไปแตะขอบล่างของ Channel แล้ว บริเวณ แท่ง 8 ii นี้ยังเป็นการทำ Higher Low เทียบกับ Low เดิมที่บริเวณ แท่ง 3 (Note ผุ้แปล : พูดง่ายๆคือ 8 สูงกว่า 3 แปลว่า น่าจะเริ่มเป็นขาขึ้นแล้ว), รวมทั้งก่อนหน้านี้เคยมีการ Break Bear Trend Line แล้วในวันนี้ ในการวิ่งขึ้นจาก แท่ง3 ไปยัง 4, ที่ตำแหน่ง แท่ง 8 ii นี้จึงเป็นสัญญาณที่ดีมากในการเปิด Long

(Note ผู้แปล : ผมว่าตอนนี้ได้ความรุ้เยอะทีเดียว, แนะนำให้อ่านพร้อมๆกับดุกราฟหลายๆรอบ เพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่า เหตุผลในแต่ละจุดคืออะไร มีกี่เหตุผล จะทำให้เราเก่ง Price Action ขึ้นมากทีเดียว ตอนหน้า เราจะมาดูตัวอย่างจากกราฟอื่นๆกันต่อครับ)
-------------- แปลโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 6  ---------------

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 5 : ii Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)



[Price Action] Part 5 : ii Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)
ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 4)  เราได้พิจารณา Reversal Signal Bar แบบอื่นๆที่ดีพอสมควร, แบบย่อยแรก คือ Inside Bar เดี่ยว (Note ผู้แปล : ที่เรียกกันว่า Harami) ซึ่งพิจารณาไปแล้วในตอนที่แล้ว ส่วนตอนนี้จะมาดู แบบอื่นๆ กันต่อ

Reversal Signal Bar แบบ Small Bar
1. Inside Bar เดี่ยว (พูดไปแล้วในตอนที่แล้ว)

2. รูปแบบ ii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 2 แท่งต่อกัน)
รูปแบบ ii คือรูปแบบแท่งเทียนต่อกัน ที่มีแท่งเทียน inside bar สองแท่ง, แท่งแรกเป็น inside bar ปกติ (ราคาอยู่ภายในแท่งก่อนหน้าทั้งหมด), และมีแท่งที่สองเป็นแท่ง inside bar ของ inside bar แรกอีกทีหนึ่ง กล่าวคือ แท่งที่สองจะเล็กกว่า หรือ เท่ากับแท่งแรก (และจะมีรูปแบบ iii จะมีสามแท่งติด และจะให้สัญญาณชัดยิ่งกว่า)
ใน Time Frame ใหญ่กว่าเช่น 5min ถ้าพบรูปแบบ ii, หากมองละเลียดเข้าไปใน Time Frame เล็กกว่าเช่น 1min จะพบว่า มันคือรูปแบบ แบบ Double Bottom/Top ซึ่งมักจะเป็นการกลับตัว (อาจจจะเป็นเพียงแค่การย่อเล็กๆ หรือกลับตัวใหญ่เลย), นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมรูปแบบ ii อาจจะนำไปสู่การกลับตัวนั่นเอง
หลังจากราคามีการวิ่งระเบิดออก, โดยเฉพาะถ้ามีการทะลุ Trend Line ออกไปตามเทรนเดิม, แล้วเกิดรูปแบบ ii ขึ้นที่บริเวณแนวต้าน/รับหลัก มีโอกาสสูงที่จะเกิดการกลับตัวก่อนจะถึงเวลาอันสมควร (เป็น Failed Final Flag), แต่ถ้าเป็นการทะลุ Trend Line แบบสวนเทรนเก่า (การกลับตัวจาก Failed Final Flag) มักจะก่อให้เกิดการกลับตัวครั้งใหญ่ไปเลย


รูปแบบ ii นี้มักจะพบได้บ่อยใน Final Flag เพราะมันเป็นการแสดงถึง การมีแรงเท่ากันระหว่าง Bull กับ Bear แล้วนั่นเอง, มันแสดงว่า พลังของฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มเท่ากับฝ่ายที่แข็งแรงกว่าแล้ว อย่างน้อยก็เท่ากันชั่วคราว, ถ้าเจอรูปแบบนี้ แปลความได้ว่า ฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มพยายามเอาชนะ เมื่อเกิดการ Break out ตามเทรนเดิม
Stop Loss ของการเข้าออเดอร์แบบ ii คือ ที่ตำแหน่งไกลกว่า ปลายของทั้งสองแท่ง  ii, แต่บางครั้งก็อาจจะเลือกใช้ Stop แบบแคบ โดยวางไว้ที่ ปลายของแท่งที่เล็กกว่าก็ได้ ถ้าแท่งเล็กนั้นค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว,  หลังจากเข้าออเดอร์แล้ว เมื่อแท่งเทียนที่เราเข้าหมดเวลา ก็ให้เลื่อน Stop Loss เข้ามา และ ตามดูอย่างใกล้ชิดว่า จะกลับตัวจริงหรือไม่, ถ้าเข้าถูก ราคาควรจะกลับตัวในระยะไม่กี่แท่งเทียนต่อมา ถ้าไม่กลับอาจจะเป็น Failure, ซึ่งพบได้บ่อย ในกรณี Break out, โดยเฉพาะถ้า รูปแบบ ii นี้เกิดตรงกลางของช่วงราคาการเทรดระหว่างวัน

Small Bar อาจไม่ใช่สัญญาณเข้าที่ดีเสมอไป โดนเฉพาะถ้าเจอรูปแบบ Small Doji (ยิ่งถ้าไม่มี body เลยนี่ยิ่งแย่ไปใหญ่) ซึ่งเกิดใกล้ๆกับ EMA และเกิดประมามณ 9-11 am , รูปแบบนี้มีโอกาสสูงมากที่จะล้มเหลว จึงจำเป็นต้องดู Price Action อื่นๆ ก่อนจะเข้าเทรด (Note ผู้แปล : การเกิด Doji เป็นสัญญาณ Sideway อยู่แล้ว, ยิ่งเกิดตรง EMA ซึ่งเป็นค่ากลางของราคา, และในยามเช้าๆตอนตลาดนิ่งๆ, หากคิดจะเข้าออเดอร์เพื่อหวังให้มันวิ่งแล้ว โอกาสจะผิดหวังก็คงจะสูงมาก)

3.รูปแบบ แท่งคู่
ถ้าตลาดเป็น Bull อย่างแรง, บางครั้งจะมีแท่งเขียวสองแท่งที่ทีความสูงเท่ากัน และ มักจะมีใส้บนสั้นๆ, นี่คือ Double Top Twin ใน Time Frame ใหญ่ และ Double Top ใน Time Frame เล็ก เช่น 1min, กรณีแบบนี้ ให้ เตรียมเข้า Long เมื่อราคาขึ้นไปสูงกว่าเดิม คือที่ปลายบนของแท่งคู่นั้น เพราะเรากำลังคาดหวัง Failed Double Top และที่ตำแหน่งนี้จะมี Stop Loss ของผู้เล่นฝั่ง Short อยู่, ซึ่งจะเป็น order ที่เข้า buy เป็นการช่วยเร่งเครื่องให้แก่ตลาด Bull ให้ขึ้นไปต่ออีกเมื่อมาถีงราคานี้ (Note ผู้แต่ง : กรณีนี้เป็นกรณีที่ ตั้งใจเล่นกับ False Signal, การเกิด Double Top ในกรณีทั่วไป ให้มองว่าจะลง, แต่ในกรณีพิเศษนี้เพราะตลาดเป็น Bull มากๆ, ผู้แต่งจึงแนะนำให้เล่นกับ Double Top แบบล้มเหลวไปเลย คือ ให้มองว่าจะขึ้น แม้จะเกิด Double Top, เป็นแผนซ้อนแผนอีกที) เช่นเดียวกับกรณีเมื่อกี้, ในภาวะที่ ตลาดเป็นเทรนขาลงหนักๆ ให้เข้า Short ตามที่ปลายล่างของ Double Bottom Twin
รูปแบบแฝดคู่ ขึ้น-ลง, กับ ลง-ขึ้น ถูกเรียกด้วยหลายชื่อ, แต่ทั้งสองแบบ มีแท่งเทรนสองแท่งสีตรงข้ามกัน ขนาดพอๆกัน แล้ว overlap กัน (อาจเรียกว่า คู่แฝดตรงข้าม), ในรูปแบบ ขึ้น-ลง, แท่งแรกคือ แท่งเทรนขึ้น(สีเขียวใหญ่) แท่งที่สองคือ แท่งเทรนลง(สีแดงใหญ่) ซึ่งในกรณีนี้เป็นรูปแบบสำหรับ การเข้า Sell (ถ้าตลาดไม่ได้อยู่ในสภาวะ sideway), ส่วนรูปแบบ แฝดคู่ ลง-ขึ้น ก็แป็นลักษณะที่เกิดจาก แท่งแดงใหญ่ตามด้วยแท่งเขียวใหญ่ ซึ่งจะเป็นรูปแบบสำหรับการเข้า Buy, ทั้งสองแบบนี้ ก็คือ รูปแบบกลับตัวที่ใช้สองแท่งเทียน ซึ่งถ้าไปมองใน Time Frame ที่ใหญ่ขึ้น มันจะกลายเป็นรูปแบบกลับตัวด้วยแท่งเดียว, ลองจินตนาการดูว่า ถ้าใน time frame 5 minute มีแท่งแฝดคู่ สองแท่งแบบนี้ แล้ว พอไปดูใน 10 minute สองแท่งนี้จะรวมกันได้เป็นแท่งเดียว หน้าตาเป็นใส้ยาวๆ ซึ่งแสดงถึงการกลับตัวนั่นเอง)



4.รูปแบบ แท่งเทรนใหญ่หัวตัน
สำหรับแท่งเทรนใหญ่ (แท่งใหญ่หัวตัน) ที่เกิดในเทรนที่แข็งแรง ย่อมเป็นสัญญาณบอกว่า ตลาดกำลังมุ่งหน้าไปทิศทางเดียว ไม่ว่าจะไร้ใส้เทียนด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน, แต่อย่างไรก็ตาม ในเทรนขาขึ้น หัวตันข้างบน ย่อมแสดงถึงความแข็งแรงในการขึ้น มากกว่า การที่หัวตันด้านล่าง นั่นเป็นเพราะแรงจำนวนมากที่บริเวณใกล้ๆราคาปิดด้านบน มาแสดงการดันราคาขึ้นไปต่อให้สูงกว่าเดิมนั่นเอง, ดังนั้น แท่งเขียวใหญ่หัวตัน เป็นสัญญาณที่ดีในการเข้า Buy, แต่ปกติแล้วมักจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าที่ตำแหน่ง ยอดหัวตันพอดี เพราะเมื่อเปิดแท่งเทียนใหม่ (ต่อจากแท่งเขียวหัวตันเมื่อกี้) ราคาก็มักจะกระโดดขึ้นไปสูงกว่านั้นแล้ว
ในกรณีที่เจอแท่งเทรนเขียวใหญ่ที่มีใส้บน 1 จุด หรือ เป็นแบบหัวตันด้านล่าง ก็ยังนับว่าเป็นสัญญาณที่แข็งแรง (เทียบกับ เขียวหัวตันด้านบน ซึ่งจะให้สัญญาณแข็งแรงกว่า), แน่ในกรณีนี้ มองแค่เหตุผลนี้ ยังไม่ดีพอสำหรับการเข้าซื้อ Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า High ของแท่งเขียวใหญ่นี้ ดังนั้นเราควรจะพิจารณาบริบท สิ่งแวดล้อมประกอบด้วย เช่น ถ้าแท่งเขียวใหญ่ ใส้บน 1 จุดนี้ เกิดในบริเวณ High เดิมของตลาด Sideway ที่มีขอบบนของ Channel ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปเข้า Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า ด้านบนของแท่งเขียวใหญ่นี้, เพราะแท่งเขียวใหญ่นี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบขอบบน แล้วย้อนลงมา ซึ่งมีโอกาสสูงกว่าจะเป็นการ Break Out ออกไปสำเร็จนั่นเอง
เทียบเคียงกับ กรณีแท่งเขียวใหญ่หัวบนตัน, แท่งแดงใหญ่ หัวล่างตัน ในตลาดหมีอย่างแรง ก็จะเป็น สัญญาณเข้า Sell ตามที่ 1 tick ต่ำกว่าราคา Low ของแท่งแดงใหญ่นั้น
แม้ว่าแท่งเทรนใหญ่ ที่มีทิศเดียวกับเทรนหลักนั้น ปกติแล้วจะแสดงการไปต่อ, แต่ถ้าเกิดแท่งเทรนที่ใหญ่ผิดปกติ มักจะเป็น แท่งหมดแรงแทน, เช่นในตลาดกระทิง แท่งเทรนสีเขียวใหญ่ผิดปกตินั้นจะแสดงถึงการซื้อไม้สุดท้าย ก่อนจะกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องแท่งเทียนใหญ่หลอกนี้ ในตอนที่ 1 แล้ว), แม้ว่าสัญญาณการกลับตัวใดๆ สามารถใช้เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์ได้ แต่การรอจังหวะสอง คือรอแท่งเทียนกลับตัว เป็นการเข้าที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าจะเล่นสวนเทรน
นอกจากนั้นก็ต้องระวังเรื่อง แท่งเทรนใหญ่ ที่เกิดตอน Break out มักจะไปต่อไม่ไหวในแท่งต่อมา กลายเป็นกับดักที่ทำให้มีเทรดเดอร์ที่ซื้อผิดทางติดอยู่ในนั้น ไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องการ Break out Trend Line มักจะถอยกลับมาทดสอบ Trend Line และ Low เดิมก่อนบ่อยๆ) , ซึ่งจะพบได้บ่อยในตลาด Side way เงียบๆ



ในสภาวะเป็นเทรน, ถ้าราคาพักตัว แล้วเกิด small bar นั่นเป็นสัญญาณให้เล่นตามเทรน, ใน Fig 1.7, แท่ง 1, 2, 4 และ 6 เป็นการพักตัวแล้ว เกิด small bar, และ สิ่งที่พวกมันส่งสัญญาณคือ ให้ Short ไปตามเทรนขาลง, โดยให้ตาม เมื่อราคา ต่ำกว่า Low ของแท่ง 1, แม้ว่าพวกมันจะเป็น Doji แต่พวกมันก็ไปตามเทรนใหญ่ ดังนั้นการ Short นี้ถือว่ามีเหตุผล
Small Bar อาจจะเป็นสัญญาเข้า Counter Trend ถ้ามันเกิดที่ Swing Low และถ้ามีเหตุผลอื่นๆ ในการเข้า Counter มาช่วยอีกด้วย, แท่ง 3 เป็น Swing Low, และเป็นชุดกลับตัวจากการลงมา (ที่เริ่มลงจาก แท่ง 2) แล้วแท่ง 3 ยังเป็น ขาลงที่สอง ในขาลงที่สองด้วย (Not ผู้แปล : คิดว่าผุ้แต่ง คงจะพูดเรื่อง ขาที่สอง ในบทอื่นภายหลัง) ซึ่งสองเหตุผลรวมกัน ทำให้แท่ง 3 เป็นสัญญาณ Counter Long ที่ดี (เพื่อขึ้นไปสู่ แท่ง 4 ที่เกิดต่อมาภายหลัง), แท่ง 5 เองก็เป็นสัญญาณ Long เพราะราคาเคยทำการ Break Trend Line มาแล้วตอนเกิดชุด 4, ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะกิดขาที่สอง ในการขึ้นไป และ แท่ง 5 ยังอยู่ตำแหน่ง Swing Low เดิมในสภาวะ Side Way ด้วย


ในกรณีเดียวที่ สามารถเปิด sell ที่ Low ได้คือ กรณีที่ตลาดเป็นตลาดหมี, แท่ง 8 ในรูปแม้ไม่ใช่ small bar แต่ก็เป็น inside bar ซึ่งทำหน้าที่เหมือน small bar และ แท่ง 8 ก็เป็น Trend Bar ด้วย, ดังนั้นจึงปลอดภัยพอที่จะเปิด sell ที่ Low ของวัน, นอกจากนี้ แท่ง 8 ยังเป็น แท่งลักษณะแบบ ย่อตัวถอยกลับ หลังจาก Break out ใหม่ๆ, แท่ง 8 จึงเป็นสัญญาเข้า sell ที่ดี
  -------------- แปลโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 5  ---------------

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 4 : Other Reversal Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)



[Price Action] Part 4 : Other Reversal Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)
สำหรับสองตอนที่ผ่านมา เราได้พิจารณาถึง Reversal Signal Bar ที่ดีที่สุดคือ ไปแล้ว, ตอนนี้มาดู Signal Bar แบบอื่นๆกันบ้าง, ตัวอย่างข้างล่างคือ Reversal Signal Bar ที่ดีพอสมควร สำหรับเข้าเปิดออเดอร์ โดยคาดหมายการกลับตัว (บาง Signal เป็น รูปแบบที่ใช้ 2 แท่งเทียน)

ในส่วนนี้จะทำการ List รูปแบบ Reversal Signal Bar ทั้งหมดออกมาก่อน, จากนั้น ถึงจะค่อยๆพิจารณารายละเอียดของแต่ละแบบทีหลัง

Reversal Signal Bar แบบ Small Bar
- Inside Bar เดี่ยว (Note ผู้แปล : คิดว่าอันเดียวกับ สิ่งที่ในภาษาวิชาแท่งเทียนเรียกว่า Harami คือ เกิดแท่งเทียนที่เล็กกว่าแท่งก่อนหน้า และ อยู่ในขอบเขตของแท่งก่อนหน้าทั้งหมด, ซึ่งแปลความหมายได้ว่า กำลังจะกลับตัว)
- รูปแบบ ii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 2 แท่งต่อกัน)
- รูปแบบ iii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 3 แท่งต่อกัน)
- แท่งเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ high หรือ Low ของ แท่งใหญ่ (หรือ Doji), โดยเฉพาะถ้ามี body สีเดียวกับทิศที่กำลังจะกลับตัวไป แสดงให้เห็นว่า ทิศนั้นๆกำลังชนะ


ต้องตระหนักไว้ว่าปกติแล้ว Doji เป็นสัญญาณการเข้าออเดอร์ที่ไม่ดี ถ้าคิดจะเล่นกับเทรน เพราะ Doji แสดงถึงสภาวะ sideway, นั่นคือ อย่าเข้า Buy ที่ ราคา High และ เข้า Sell ที่ Low, แต่มีกรณียกเว้นในการใช้ Doji เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์ได้ คือ ในตลาด Sideway ให้เข้า Sell ที่ต่ำกว่า Doji ได้ ก็ต่อเมื่อ Doji นั้นเกิดที่บริเวณ High ของกรอบการวิ่งของราคา นั่นก็เพราะ Doji เป็น sideway เล็กๆ ซึ่งในกรณีนี้ Doji กำลังเกิดใน sideway ใหญ่ๆ คือ กรอบของราคา Sideway นั้นเอง (กรอบราคาเป็น Sideway ใหญ่, แล้วมี Doji ซ้อนอยู่ข้างในอีกทีเป็น Sideway เล็ก)

Reversal Signal Bar แบบอื่นๆ
- Outside Bars (ให้ดูบทต่อๆไป)
- Double Bottom Twin : หลังจากการลงมาอย่างหนัก เกิดแท่งเทียนสองแท่งติดกัน ที่มี Low เท่ากัน, สัญญาณจะยิ่งชัด ถ้าหางล่างยิ่งสั้น หรือ ไม่มีหางล่างเลยยิ่งดี เป็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นไป
- Double Top Twin : หลังจากการขึ้นมาอย่างหนัก เกิดแท่งเทียนสองแท่งติดกัน ที่มี High เท่ากัน, สัญญาณจะยิ่งชัด ถ้าหางบนยิ่งสั้น หรือ ไม่มีหางบนเลยยิ่งดี เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไป
- Reversal Bar Failure : ถ้าเทรนใหญ่นั้นแรงมาก จะทำให้ Reversal Bar เกิดการล้มเหลวได้ แม้สัญญาณต่างๆ จะชัด เช่น ในภาวะกระทิงมากๆ ราคาก็ยังขึ้นไปต่อ แม้ว่าจะมีสัญญาณการกลับตัวลงไปที่ชัดเจนก็ตาม
- Shaved Bar (แท่งตัน) : ไม่มีหาง ที่ด้านหนึ่ง หรือ ทั้งสองด้าน ในภาวะเทรนมากๆ (Note ผู้แปล : คิดว่าผู้แต่งพยายามบอกว่า การดูแท่งตันเดียวๆ ไม่สามารถยืนยันอะไรได้มาก มีโอกาสจะเป็น False Signal สูง)
- Exhaustion Bar : แท่งเทรนขนาดใหญ่ ที่เกิดหลังจากการวิ่งมานาน แปลว่า มันเป็นแท่งหลอกที่จะกลับตัวต่างหาก ไม่ใช่แปลว่าจะวิ่งต่อเหมือนแท่งขนาดใหญ่ตามปกติ (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดไว้ใน ตอนที่ 1 ดังนี้ ปกติ ลำตัวแท่งเทียนใหญ่ หมายถึงเทรนที่แข็งแรง แต่ถ้าเป็นแท่งที่ใหญ่มากที่มาหลังจากการเดินทางที่ต่อเนื่องมานาน หรือ การ Break out จะกลับเป็นแท่งหมดแรงแทน”)

จะเห็นได้ว่า มี small bar หลายแบบ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และ มีข้อสังเกตดังนี้
- small bar ทุกแบบแสดงให้เห็นถึง การที่ทั้งทิศขี้น และ ลง ไม่มีแรงทั้งคู่
- การอ่าน small bar ต้องอ่านควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมของมันด้วย
- ถ้า small bar มี body สีเดียวกับทิศที่ต้องการ เป็นสัญญาณที่ดี
- ถ้า small bar ไม่มี body เลย, ปกติไม่ควรเข้าเทรด เพราะโอกาสที่จะเดินทางในทิศที่ต้องการนั้นต่ำกว่า การจะแกว่งอยู่ทีเดิมมากเกินไป ไม่คุ้มกับการเข้าเสี่ยงเทรด

ส่วนนี้จะเริ่มพิจารณา Reversal Signal Bar ทีละแบบอย่างละเอียดกัน
1. Inside Bar เดี่ยว
Inside Bar ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในแท่งก่อนหน้าทั้งหมดก็ได้ อาจจะมีหางด้านหนึ่ง หรือ ทั้งสองด้าน มีปลายหางเท่ากับแท่งก่อนหน้ามันก็ได้



 สัญญาณการกลับตัวนี้จะชัดขึ้น ถ้า Inside Bar นี้มีราคาปิดค่อนมาทางฝั่งที่จะกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : เช่นก่อนหน้านี้ราคาวิ่งขึ้นมาไกล แล้ว เกิด Inside Bar แท่งเล็กๆ ที่อยู่ภายในแท่งก่อนหน้า และ Inside bar นี้มีราคาปิด อยู่ครึ่งล่างของ Bar ก็แสดงชัดว่า เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไป)

หากมี Inside Bar เกิดขึ้นตามหลัง Break out Trend Bar ขนาดใหญ่, มันอาจจะเป็นได้ทั้งแค่ การพักชั่วคราว หรือ อาจจะเป็นการกลับไปเลย, ถ้าสีของ Inside Bar เป็นสีเดียวกับ Break out Trend Bar ก็น่าจะเป็นแค่การพักเพื่อไปต่อ และน่าจะเป็นการกลับตัวไปเลย ถ้า Inside Bar มีสีตรงข้ามกับ Break out Trend Bar

Small Inside Bar เป็นจุดที่อ่อนไหวมาก เพราะจะมีเทรดเดอร์ทั้งสองฝั่งเข้ามาเปิดออเดอร์ เช่น ในวันที่ราคาลงมาตลอด แล้วเกิด Bull Break Out ขึ้นไป จากนั้นถ้ามี Small Inside Bar เกิดขึ้น  เทรดเดอร์จะเปิด Buy ที่ราคาสูงกว่า High ของ Small Inside Bar นั้นๆหนึ่งช่อง (หรือ 1 tick) โดยจะเตรียมเปิด ออเดอร์ Sell (Pending Sell Order) เพื่อทำหน้าที่เป็น Stop Loss เอาไว้ที่ ราคาต่ำกว่า  Low ของ Small Inside Bar นั้น, ซึ่งถ้าเป็นการ Break out ขึ้นไปจริงๆ Sell Order ก็จะไม่ต้องเปิด
แต่ถ้าเป็นแค่ False Break Out แล้วราคาลงไปต่อ เทรดเดอร์ก็จะต้องพิจารณาการเปิด Sell Order นั้น และ จะต้องพิจารณาถึงการเพิ่มปริมาณ Order Sell ด้วยเพื่อชดเชยกับที่โดน False Break out เมื่อกี้หลอกมา, จะเห็นได้ว่า เป็นกระบวนการที่ต้องตัดสินใจเยอะ ภายในระยเวลาสั้นๆ จึงมักจะถูกอารมณ์เข้าครอบงำได้ง่ายมากในบริเวณนี้, จึงต้องระวัง ไม่ให้ถูกอารมณ์ครอบงำ เพราะความสับสน และ อารมณ์ จะทำให้ความสามารถในการมองตลาดอย่างชัดเจนนั้นลดลง

สำหรับ Inside Bar ที่เกิดในตลาด Swing  เป็นสัญญาณของการจบรอบการแกว่ง, โดยเฉพาะถ้าตัว Inside Bar มีสีตรงข้ามกับ Trend ย่อยที่เดินทางมา หรือ Inside Bar นั้นไปเกิดใกล้ๆกับ แนวรับ/แนวต้าน สำคัญ (เช่น Trend Line, ขอบ Channel, High/Low ของกรอบราคา Sideway, Hig/Low ของราคาเก่า) จะทำให้สัญญาณการกลับตัวชัดขึ้น, และ จะยิ่งชัดขึ้นอีกถ้า Inside Bar มีหน้าตาเป็น Reversal Bar ด้วย , โดยปกติแล้ว ในกรณีนี้ ให้เข้า Buy ที่ Low และ เปิด Sell ที่ High (Note ผู้แปล : ผมเรียกลักษณะแบบนี้ว่า เล่น Counter), ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีชุด Swing เกิดขึ้นอยู่ โดยราคาวิ่งขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วเกิด Small Bar ตอนที่ราคาชน Bear Trend Line ที่กดไว้ ให้ทำการเปิด Sell, (เช่นเดียวกับ ถ้าราคามาชน Bull Channel Line ขอบบน ก็ให้เปิด sell)
แต่ ถ้าราคาทำการ Swing ลงมาก่อน แล้วเกิด Small Bar ก็ให้พิจารณาที่จะเปิด Buy เท่านั้น

สำหรับ Small Bar ที่เกิดในตลาด Trend, small bar อาจจะไม่ได้เป็นสัญญาณ Reversal แต่อาจเป็นสัญญาณการเข้าทั้งสองทิศทางได้ เช่น ถ้าตลาดเป็นกระทิงมากๆ ราคากำลังขึ้นมาอย่าแรง เกิดแท่ง Bull ใหญ่ที่แข็งแรง, จากนั้น เกิด inside bar ใกล้กับ แท่ง Bull ใหญ่เมื่อกี้ แบบนี้ ควรจะเปิด Buy (Note ผู้แปล : ในตลาด Trend ชัดเจน เราไม่ควรเล่น Counter อยู่แล้ว ดังนั้นในกรณีนี้ไม่ควรเปิด sell อยู่แล้ว), หรือ ถ้าเป็น Small Bar ที่เกิดสูงกว่า High ของแท่ง Bull ใหญ่ก็เป็นสัญญาณ Buy เช่นกัน ถ้า Trend นั้นแข็งแรงพอ, ความจริงแล้วในกรณีเหล่านี้ที่กล่าวมา (พวก Small Bar ที่ไม่ใช่ Reversal) ควรจะเข้า Buy เมื่อราคาย่อลงมาก่อนมากกว่า โดยเฉพาะ ถ้าพวก Inside Bar และ Small Bar ทั้งหลายเป็น Reversal Bar ด้วยก็ยิ่งควรจะรอ เพราะโอกาสย่อลงมามีสูง ก่อนจะเดินทางไปตามเทรน ต่อไป
-------------- แปลโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 4  ---------------

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

[Exit Strategy] Part 9/9 : The Conclusion

[Exit Strategy] Part 9: The Conclusion

บทนี้เป็นบทเพิ่มเติมจาก หนังสือหลัก ซึ่งผม, ผู้แปล (Rojer FX), เขียนสรุปขึ้นมาเอง เพื่อนำใจความ
สำคัญมารวมไว้ให้เป็นบทเดียว จะได้ง่ายต่อการทบทวน และ มาอ่านสรุป
----------------------------------------------------------------------------------
                ในบทแรกของหนังสือเป็นการพูดถึงภาพกว้าง และ เริ่มแนะนำวิธีออกแบบต่างๆ
                ในการเทรด คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ จุดเข้ามากกว่า จุดออก”, แต่ผู้แต่ง (Lance
Beggs) เชื่อว่า การออกเป็นสิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการเทรด มากกว่า การเข้า”, เขาจึงเริ่มจาก
ยกตัวอย่างกราฟหลายๆแบบให้เราเห็นถึงความสำคัญว่า ถ้ามีแผนการออกดีๆ จะมีโอกาสชนะมากขึ้น และ
ได้จำแนกรูปแบบการออกเป็น 2x2 ประเภท
                1. วิธีออกด้วยการแพ้
ผู้อ่านอาจจะแปลกใจที่ เขาสอนวิธีรับมือกับความพ่ายแพ้ก่อนจะเล็งชัยชนะ ซึ่งตรงนี้เป็นจิตวิทยาที่ถูกต้อง
แต่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบ และไม่อยากยอมรับ, การจะอยู่รอดให้ได้อย่างยั่งยืนในตลาดสิ่งสำคัญคือ "การอยู่
รอด" ก่อนจะเป็น "การเติบโต" ดังนั้นการฝึกเอาตัวรอดจึงสำคัญสุด เขาจึงสอนให้รู้จักวิธีจำกัดความเสีย
หายในแต่ละครั้ง โดยสอนเรื่อง Stop Loss เป็นอันดับแรก
                (1.ความกว้างของ Stop Loss ที่วาง ตอนเข้าออเดอร์)
1a. Stop แบบกว้าง : จะเป็นการวาง Stop แบบที่เรียกได้ว่า กล้าได้ กล้าเสีย, คือ จะมีโอกาสที่จะได้
Trend ชุดใหญ่ เพราะทนการแกว่งได้มาก แต่ถ้าชน Stop ขึ้นมา ก็จะเสียมากเพราะมันกว้างนั่นเอง
1b. Stop แบบแคบ : เป็นการวาง Stop แบบ Play Safe, คือ ความเสียหายแต่ละครั้งจะน้อย แต่โอกาส
จะได้ Trend ชุดใหญ่น้อยลง และ จะชน Stop บ่อยขึ้น
(ส่วนวิธีเทรดโดยไม่มี Stop Loss นั้น ผู้แต่งมองว่ามันเป็นการพนัน ไม่ควรทำไม่ว่าในกรณีใดๆ)
               
                ซึ่งจากตรงนี้ ยังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมมากนัก นำเสนอแค่ทฤษฏีก่อน ภายหลังจะเอาเรื่อง
นี้ไปรวมกับบทจิตวิทยา ก็จะได้เห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม, หากจะมองว่าตรงนี้มีสิ่งที่เป็นรูปธรรมก็คือ "ต้องมี
Stop Loss ทุกออเดอร์"

                2. วิธีออกด้วย ชัยชนะ
2a. แบบวาง Target Point ไว้ ณ ราคาเป้าหมายที่เลือกไว้ล่วงหน้า : แบบนี้เหมาะกับตลาด Sideway
2b. แบบเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลัง : แบบนี้เหมาะกับตลาด Trend

                ซึ่งจากตรงนี้ เราได้เรียนรู้สิ่งแรกที่เป็นรูปธรรมเลย คือ ถ้าเราเดาว่า ตลาดเป็น Sideway ให้
เลือกการวาง TP ที่ขอบของ Channel ของ Sideway Channel (คือ แบบ 2a)


                แต่ในกรณีตลาดเป็น Trend, เนื่องจากเราไม่รู้ว่า มันจะสุดเทรนที่ไหน เมื่อไหร่ เราก็กำหนด
ล่วงหน้าไม่ได้ แต่เราก็อยากจะวิ่งตามเทรนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่หักหัวเลี้ยวกลับซะก่อน แบบนี้ ก็ควรเลือก
วิธีออก โดยการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลัง (แบบ 2b)
-----------------------------------------------------------------------------------
                บทต่อมา ผู้เขียนพูดถึงเรื่อง จิตวิทยาการเทรด และ ความเข้ากันได้ของ รูปแบบการออกต่างๆ
กับ จิตวิทยาการเทรดของแต่ละบุคคล โดยยกตัวอย่างกรณีระบบของเขาเป็น ต้นแบบในการศึกษา
เริ่มโดยเผย จิตวิทยาความเชื่อของเขาก่อน

ความเชื่อ #1 : ไม่มีกฎตายตัว สำหรับทุกๆสถานการณ์, เขาเชื่อว่าในแต่ละสถานการณ์ จะมีรูปแบบออกที่
ดีแตกต่างกันไป : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เราต้องอ่านกราฟแล้วเลือกรูปแบบการออกให้เหมาะ
อย่าไปยึดอยู่กับวิธีออกหนึ่งๆทุกการเทรด (แต่อาจจะมีแบบหลักได้ แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นแบบนั้นทุกครั้ง)

ความเชื่อ #2 : ไม่มีวันที่จะทำให้ วิธีออกสมบูรณ์แบบ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ อย่าไปยึดติด
ว่า จะเอากำไรสูงสุด (Maximum Profit) โดยต้องรับภาระเสี่ยงต่อการเลี้ยวกลับ แต่ให้เล็ง กำไรที่
เหมาะสม (Optimum Profit) คือ มีกำไร แต่ไม่เสี่ยงเกินไป

ความเชื่อ #3 : การเทรดเสีย จะสร้างความเสียหายที่แท้จริงที่จิตใจ ไม่ใช่ทางด้านการเงิน : สิ่งที่เราเรียน
รู้ได้อย่างรูปธรรมคือ อย่าเล่นโดยไม่มีวินัย อย่าเล่นนอกแผน โดยเฉพาะอย่าเล่นแบบไม่มี Stop Loss

ความเชื่อ #4 : แผนที่ใช้ออก ต้องออกแบบให้เหมาะกับจริตของตัวเอง : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ
ต้องเข้าใจตัวเองว่า เป็นคนที่ชอบอะไร แล้วเลือกระหว่าง ได้มากเสียมาก กับ Play Safe, และให้
ตระหนักไว้ว่า มีวิธีการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลังเทรน ซึ่งเหมาะกับคนที่ชอบ Play Safe

ความเชื่อ #5 : การป้องกัน สำคัญกว่า การบุก : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ต้องวางแผนการออกให้ดี
แล้วฝึกให้หนัก ฝึกให้คล่อง เพราะคนส่วนมากสนใจแต่แผนเข้า ไม่สนใจแผนออกกันเท่าไหร่

ความเชื่อ #6 : รูปแบบการออก แต่ละแบบ ใช้ได้ดีกับ ตลาดที่แตกต่างกันไป : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่าง
รูปธรรมคือ, ในตลาด sideway แกว่งตัว :  การออกด้วยวิธี ตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า แบบ
Trailing Stop, ในตลาดเป็นเทรนแบบราบเรียบ ไม่ค่อยแกว่ง: Trailing Stop จะทำกำไรได้ดีกว่า แบบ
ตั้งเป้าล่วงหน้า, ในตลาดที่เป็นเทรนที่แกว่งตัวรุนแรง : การออกด้วยวิธี ตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า
Trailing Stop

ความเชื่อ #7 : การเลือกวาง Stop Loss จะต้องได้อย่างเสียอย่าง ระหว่าง ความถี่ในการชนะ กับ อัตรากำไรเฉลี่ย ชนะ/แพ้  : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ต้องเข้าใจว่า ได้อย่างเสียอย่าง ระหว่าง ชนะบ่อย กับ
อัตรากำไรเฉลี่ยดี, แล้วก็ให้เลือกสิ่งที่ตัวเองชอบ ไว้ใช้เป็นระบบออกหลัก , ถ้าชอบชนะบ่อย แต่ได้น้อย ให้เลือก
Stop Loss กว้าง (ซึ่งการออกแบบนี้จะมาพร้อมๆกับ นานๆเสียทีแต่เสียเยอะ), ทางตรงข้าม ถ้าชอบ อัตรากำไร
เฉลี่ยดี ก็ให้เลือก Stop แคบ เพราะ เวลาชน Stop ความเสียหายจะน้อย ซึ่งทำให้ตัวหารน้อย อัตรากำไรเฉลี่ยเลยดีขึ้น

ความเชื่อ #8 : ให้วาง Stop Loss ในตำแหน่งที่ เป็นจุดตัดสินว่า การวิเคราะห์ตลาดของเราผิดทางแล้ว :
สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ให้วาง Stop Loss ตามแนวรับ แนวต้านต่างๆ, อย่าวางโดยใช้การ
คำนวณว่าจะ Stop loss กี่ % ของทุนเพียงอย่างเดียว

ความเชื่อ #9 : เมื่อความได้เปรียบหมดไป ให้ออกจากตลาด: สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เราไม่จำ
เป็นต้องรอจน ราคาชน TP หรือ SL เท่านั้น, เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่า เริ่มผิดทาง ลังเล หรือ ไม่แน่ใจ, ให้ปิด
ออเดอร์ทันที ไม่ว่าจะบวกหรือลบอยู่ก็ตาม อย่าไปเสี่ยงอยู่กับสภาวะตลาดที่เราดูไม่ออก
---------------------------------------------------------------------------------------------------
                บทสุดท้าย, บทที่ 3, ผู้แต่งยกตัวอย่าง ระบบการออกของเขา เป็นต้นแบบ (Study Model) ว่า
ทำไมเขาถึงเลือกวิธีนั้นๆ เป็นแผนการออกของเขา แล้วเราควรจะเลือกอย่างไร ควรเหมือนหรือแตกต่าง
จากเขา? โดยพิจารณาปัจจัยในการเลือกดังนี้

1. เป้าหมายการเทรด : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เขาเลือกใช้ Stop Loss แบบแคบ
โดยเพิ่มความถี่ในการชนะให้มากขึ้นอีก ด้วยวิธีการที่เสริมเพิ่มขึ้นมา คือ พยายามเข้าออเดอร์ก็ต่อเมื่อมั่น
ใจ เช่น อยู่ใกล้แนวรับ แนวต้าน ที่คาดเดาได้ว่า จะผ่านหรือไม่ผ่าน แล้วก็เข้าที่บริเวณนั้น แล้ววาง Stop
Loss ไว้ที่แนวรับ แนวต้านใกล้ๆอันนั้น จึงทำให้วาง Stop Loss ได้แคบ แต่โอกาสชนะเยอะ

2. ธรรมชาติของตลาด: สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ความเข้าใจว่า ตลาด Forex ส่วน
ใหญ่เป็น sideway มากกว่าเทรน ดังนั้น การเล่นแบบ sideway jumper เป็นสิ่งที่ทำกำไรได้มากกว่า แต่ก็องมี Stop Loss ทุกครั้งเผื่อตลาดเป็นเทรนขึ้นมา

3. ความเหมาะกับจิตวิทยา : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ต้องเข้าใจตัวเอง แล้วก็เลือก
ระบบการออก โดย 3.1.ให้เหมาะกับสภาวะตลาด 3.2.ให้หมาะกับจิตวิทยาของตัวเอง
               
จากนั้นหนังสือก็พูดถึงรายละเอียดลึกลงไปในวิธีการวาง Stop Loss
                1.การวาง Stop Loss ตอนเข้า จะต้องแคบ แต่ก็ต้องกว้างพอจะทนการแกว่งในระดับ noise
ได้ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ให้วาง Stop Loss ไว้ที่แนวรับ แนวต้านอันถัดไป โดยให้เผื่อเพิ่ม
อีกเล็กน้อย

                2.ธรรมชาติของวิธีเข้าของผมคือ ถ้าเข้าถูกจริง ราคาจะวิ่งไปทางที่ผมต้องการอย่างเร็ว : สิ่งที่
เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ถ้าเข้าไปแล้วราคายังไม่ยอมไปในทางที่เราต้องการ ก็ให้ cut loss ทิ้งเลย,
และ ถ้าเป็นการเล่นสวนเทรน กำไรแล้วให้รีบๆออก

3.การบริหาร ออเดอร์ระหว่างการถือ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เราสามรถแบ่ง
ออเดอร์ออกเป็นส่วนย่อยได้ ส่วนแรกให้ปิดเพื่อ Lock Pofit ก่อนส่วนหนึ่ง เมื่อมีกำไรแล้วก็สามารถนำไปเป็นทุนให้ส่วนที่เหลือ เอาไปลุ้นต่อได้ โดยจะเลือกใช้ Stop กว้างขึ้นเพื่อกินเทรนใหญ่ หรือ จะเลื่อน Stop ไล่ตามหลัง ก็ได้ นั่นคือ เพิ่มความยืดหยุ่นสูงขึ้นนั่นเอง
               
4.กำหนดการออกข่าวเศรษฐกิจ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ สำหรับคนที่เทรด Time
Frame เล็ก ควรจะปิดหนีข่าว เพราะวงสวิงมันจะกว้าง จนกินกราฟใน Time Frame เล็กซะมิดนั่นเอง
และ ผู้แต่งก็ยังเตือนว่า ระบบที่ใช้เป็นตัวอย่างเป็นระบบของเขา ออกแบบโดยเขา เพื่อเขาคน
เดียว ฉะนั้น ถ้าผู้อ่านจะนำไปใช้ก็ให้ ปรับแต่งให้เหมาะกับ จิตวิทยาและเงื่อนไขต่างๆตามแต่ละคน และ
ทดสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้จริง
               
ในส่วนสุดท้ายเป็นการยกคำแนะนำสำคัญๆมาจาก บรรดาอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งสรุปใจความ
หลักๆได้คือ ทุกคน จะให้ความสำคัญกับ "การแพ้" มากๆ
1.การแพ้เป็นเรื่อง ธรรมชาติ, เมื่อแพ้ขึ้นมาก็อย่ายึดติด ให้จบไปแล้วเริ่มออเดอร์ใหม่
                2.ให้คิดว่า ตัวเองจะเป็นผู้แพ้ ไว้ก่อน, เตรียมใจและพร้อมจะคัทลอสไว้เสมอ
                3.ตกรถ ดีกว่าขึ้นผิดคัน, ถ้ารู้สึกว่าท่าไม่ดี ให้ปิดไปก่อน อย่าเสี่ยงถือในสภาวะที่ไม่แน่ใจ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
                ถึงตรงนี้ก็เป็นอันจบโปรเจคการแปลหนังสือเล่มนี้ "The importance of Exit Strategy" แล้วครับ, หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ
                โปรเจคหน้าก็คงเป็นการแปลหนังสือ Price Action ที่ค้างอยู่, แต่ถ้าใครคิดว่า มีหนังสือดีๆอยากให้แปล ก็ติดต่อผมมาได้เลยนะครับ email: wiroaj@hotmail.com ถ้าหนังสือที่อยากให้แปลนั้นสั้น ผมอาจจะแทรกให้ก่อน เพราะหนังสือ Price Action หนามาก คงต้องแปลเป็นปี, ผมจะแปลหนังสือดีๆให้เทรดเดอร์ทุกท่านฟรีครับ แต่ขอเผยแพร่สู่สังคมทีเดียวไปเลยนะครับ เพื่อให้สังคมการเทรดของไทย พัฒนายิ่งๆขึ้นไปนะครับ
                แนะนำตัวตอนท้ายหน่อยละกัน ผมชื่อ Rojer FX นะครับ  , เป็นเทรดเดอร์ สอนการเทรด และงานอื่นๆเกี่ยวกับการเทรด (แปลหนังสือ เขียนบทความ etc…), ถ้าใครเล่น facebook ก็มาเป็นเพื่อนกันนะครับ http://www.facebook.com/rojer.fx.3,  และ ติดตามผลงานของผมได้ที่ ChiangMai Forex นะครับ http://www.facebook.com/pages/Chiangmai-Forex/275391639215535

---แปลและแต่งโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 9 (จบบริบูรณ์)--