วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

[Exit Strategy] Part 5: My Exit Beliefs (3)


[Exit Strategy] Part 5: My Exit Beliefs (3)
ในสองตอนที่แล้ว ได้พูดถึง หลักการและความเชื่อส่วนตัวของผู้แต่งไปรวม 6 ข้อแล้ว ที่เขาใช้ในการสร้าง ระบบออก, ตอนนี้จะมาพูดถึงความเชื่อเหล่านั้นต่ออีก 3 ข้อ สุดท้าย

ความเชื่อ #7 : การเลือกวาง Stop Loss จะต้องได้อย่างเสียอย่าง ระหว่าง ความถี่ในการชนะ กับ ปริมาณชนะแต่ละครั้ง
เรื่องนี้เคยเกริ่นไปนิดๆแล้วตอนพูดถึงเรื่อง จิตวิทยาการเทรด
ได้ความถี่ เสียปริมาณ : ถ้าอยากจะชนะบ่อยๆ (% winning สูงๆ) ต้องใช้วิธี Stop Loss กว้าง ที่จะมาพร้อมกับข้อเสียคือ อาจได้กำไรเพียงนิดเดียวในการชนะแต่ละครั้ง แต่ เมื่อแพ้จะขาดทุนเยอะ, ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้ Stop Loss กว้าง ก็จะทำให้ราคามีพื้นที่ในการแกว่งตัวมากขึ้น ก่อนที่จะวิ่งถูกทางเรา, เราจึงมีโอกาสชนะบ่อยขึ้น แต่ นานๆครั้งก็จะเกิดกรณีที่ว่า ราคาแกว่งมาจนชน Stop Loss แบบกว้างของเรา ซึ่งทำให้เราต้องพบกับการขาดทุนที่เยอะ เพราะจุด Stop อยู่ไกลนั่นเอง
ได้ปริมาณ เสียความถี่ : ในทางตรงกันข้ามกับกรณีด้านบน, ถ้าอยากจะได้ กำไร ต่อ ขาดทุน สูงๆ ก็ต้องยอมเสีย ความถี่ในการชนะ โดยการใช้ Stop Loss ที่แคบลง, การทำแบบนี้จะทำให้อัตราส่วนเฉลี่ย ชนะ/แพ้ มากขึ้น (Note ผู้แปล : ชนะแต่ละครั้งได้มากเฉลี่ย 30 pip และ แพ้แต่ละครั้งเสียน้อยเฉลี่ย 5pip,  อัตราส่วนเฉลี่ย คือ 30/5 = 6), การใช้ Stop Loss ที่แคบ ย่อมทำให้ เมื่อโดน Stop แต่ละครั้ง ขาดทุนเพียงเล็กน้อย(ตัวหารเล็) แต่โอกาสกำไรก็ยังอยู่เมื่อถูกทาง ซึ่งทำให้ค่าอัตราส่วนเฉลี่ยน ชนะ/แพ้ สูงขึ้น, แต่การมี Stop Loss ที่แคบย่อมมาพร้อมกับข้อเสียคือ ชน Stop บ่อยขึ้น จึงทำให้ความถี่ในการชนะ (% winning) ลดลง
หลักการที่ต้องเลือกระหว่าง ความถี่ กับ ปริมาณ ใช้ได้กับการวาง Target point เช่นกัน, ปกติจะนิยมการวาง Target Point (TP) กว้าง 2-3 เท่าของ Stop Loss, ซึ่งการทำแบบนี้ ต้องพบกับ ความถี่ในการชนะที่ลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ (จะเอาปริมาณ ก็ต้องเสียความถี่)
ถึงตรงนี้ ต้องมาพิจารณาเรื่องจิตวิทยาอีกครั้ง ว่า คุณรู้สึกว่าเหมาะกับแบบไหน ในการเลือกระหว่าง ความถี่ กับ ปริมาณ ? ชนะบ่อยๆแต่น้อยๆ หรือ นานๆชนะทีแต่ได้เต็มๆ (อย่าลืมด้วยว่า ชนะบ่อยๆจะแพ้หนัก และ ได้เต็มๆจะแพ้บ่อย)
ผมรู้นะว่า คุณคิดอะไรอยู่ คุณอยากได้วิธีที่ ชนะบ่อยๆ และ ปริมาณมากๆ ใช่ไหมละ ? ฝันต่อไปนะ  เพราะมันจะไม่มีวันเกิดขึ้น

ความเชื่อ #8 : ให้วาง Stop Loss ในตำแหน่งที่ เป็นจุดตัดสินว่า การวิเคราะห์ตลาดของเราผิดทางแล้ว
ให้วาง Stop Loss ให้แคบที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยที่ยังรองรับการแกว่งตัว(noise) ได้, ซึ่งถ้าการวิเคราะห์ของคุณถูกทาง ถูกจังหวะแล้วละก็ ราคาไม่ควรจะไปชน Stop ของคุณ, ฉะนั้น ให้วาง Stop Loss บนพื้นฐานของการวิเคราะห์รูปแบบกราฟ รูปแบบราคา, ไม่ใช่วางในตำแหน่งที่บอกว่าคุณจะยอมเสียได้มากน้อยแค่ไหน, ถ้าการใช้ SL จากรูปแบบกราฟ ทำให้ต้องทนเสียเงินเยอะไป ให้ลดขนาดของการเทรดลงให้เหมาะ หรือ อาจจะปล่อยออเดอร์นั้นไป ไม่เข้าเทรด(Note ผู้แปล : เรื่องนี้ผมสอนใน Advance Forex Class ว่า ให้คำนวณ SL สองขั้น, ขั้นแรก ให้คำนวณจาก เงินที่เรายอมเสียก่อน แล้ววาง SL ไปก่อน, ขั้นสอง ให้ปรับ ตำแหน่ง SL โดยดูจากกราฟว่า บริเวณนั้น มีแนวรับแนวต้านอะไรที่สำคัญไหม ถ้ามี ให้เลื่อน SL ไปที่บริเวณนั้น แล้วตรวจทาน ปริมาณเงินอีกรอบ, ถ้าจำนวนเงินเปลี่ยนแปลงเยอะไป ให้ไปแก้ไขที่ Lot แทน)

ภาพที่ใช้สอนเรื่อง การวาง SL สองขั้นใน Advance Forex Class by Rojer FX

ความเชื่อ #9 : เมื่อความได้เปรียบหมดไป ให้ออกจากตลาด
ไม่มีใครบังคับคุณให้ทนถือ ออเดอร์ จนชน Stop Loss ทุกครั้ง, หลักการง่ายๆ คือ ถ้ารู้สึกว่าตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ให้ออกไปก่อน แล้ว ถ้าเห็นจังหวะดีๆ ค่อยกลับเข้ามาใหม่ก็ได้
ที่จริงมีวิธีที่ดีมากๆ ในการเพิ่มอัตราส่วนเฉลี่ย ชนะ/แพ้นั่นคือ การลดขนาดของการแพ้นั่นเอง
เทรดเดอร์จำนวนมาก จะไม่ยอมเทรด ถ้า อัตราส่วนเฉลี่ย ชนะ/แพ้ น้อยกว่า 2:1, แต่สำหรับผม (Lance Beggs) ผมจะยอมรับ 1:1 ทุกเมื่อ เพราะผมจะคอยเล็งไม่ให้ออเดอร์ ชน SL, ถ้ารู้สึกว่าราคาผิดทางจากที่ผมวิเคราะห์ไว้ ผมก็จะออกทันที ดังนั้น การแพ้เฉลี่ยของผม ก็จะน้อยกว่า 1

ถึงตรงนี้ ผมจะทิ้งช่วงให้พวกคุณได้ตกผลึก
แล้วบทต่อไปจะมาดู วิธีวาง Stop Loss ของผมในการเล่น Day Trade, และ จะมาดูคำแนะนำจากพวก เทรดเดอร์ และ ครูสอนเทรดทั้งหลายที่มีบทบาทต่อการวางแผนการออกของผมด้วย

----------- แปลโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 5  --------

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

[Exit Strategy] Part 4: My Exit Beliefs (2)


[Exit Strategy] Part 4: My Exit Beliefs (2)
ในตอนที่แล้ว ได้พูดถึง หลักการและความเชื่อส่วนตัวของผู้แต่งสามข้อ ที่เขาใช้ในการสร้าง ระบบออก, ตอนนี้จะมาพูดถึงความเชื่อเหล่านั้นต่ออีกสามข้อ

ความเชื่อ #4 : แผนที่ใช้ออก ต้องออกแบบให้เหมาะกับจริตของตัวเอง
เรื่องนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในเรื่องการออกเลย ถ้าคุณไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากบทความนี้ อย่างน้อยก็ขอให้ได้เรื่องนี้ไปละกัน
หลักการสำคัญคือ อย่าไปพยายามหาระบบออกที่ได้ผลประโยชน์สูงสุด, ให้หาระบบออกที่เข้ากันได้กับจิตวิทยาการเทรดของคุณแทน
- ถ้าคุณเป็นพวก กลัวการตกรถครั้งใหญ่ คุณต้องพิจารณาการใช้ Stop Loss แบบกว้าง เพื่อให้แน่ใจว่า คุณจะไม่โดน stop ตอนแกว่ง ก่อนจะวิ่งครั้งใหญ่ จากนั้น ถ้ากราฟวิ่งถูกทาง ให้ใช้ Trailing Stop เลื่อนตามกราฟ ด้วยวิธีนี้ จะทำให้คุณอยู่ในเทรนได้ตลอด, แต่แน่นอนว่า การเลือกใช้ Stop Loss แบบกว้างนี้ มาพร้อมกับข้อเสียที่ต้องยอมรับ คือ เปอร์เซ็นต์การชนะที่ต่ำลง
- ถ้าคุณเป็นพวกที่ กลัวว่า ออเดอร์ที่กำลังเป็นบวกอยู่ดีๆ กลายเป็นลบ, แบบนี้ต้องใช้วิธี คอยเลื่อน Stop Loss ขึ้นมาถี่ๆ, ซึ่งก็ต้องแลกกับการที่ จะโดน stop บ่อยขึ้น จนทำให้เสียโอกาสที่จะได้เก็บเทรนใหญ่ๆ   คุณจะได้เห็นตัวอย่างใน บทที่ 3 ว่า ผมได้ออกแบบวิธีออกให้เหมาะกับจิตวิทยาของผมไว้อย่างไร
(รูปจากผู้แปล : ตัวอย่างการเลื่อน Stop Loss ที่ผมสอนใน Advance Forex Class by ROJER FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3)

ความเชื่อ #5 : การป้องกัน สำคัญกว่า การบุก
เป้าหมายเบื้องต้นของเทรดเดอร์ทุกคนคือ การไม่ตายออกจากตลาด, เราต้องมั่นใจได้ว่า พรุ่งนี้เราก็จะยังเทรดอยู่ในตลาดได้ต่อไป
การเทรดแต่ละครั้ง จะมีจุดจบได้ 5 รูปแบบดังนี้
1.ชนะครั้งใหญ่
2.แพ้ครั้งใหญ่
3.เท่าทุน
4.ชนะเล็กๆ
5.แพ้เล็กๆ
ตลาดจะมีธรรมชาติหนึ่งที่แน่นอนที่สุดคือ ความไม่แน่นอน ไม่ว่าคุณจะวิเคราะห์ได้เก่งแค่ไหน คุณก็ยังต้องพบกับปัจจัยความไม่แน่นอนนี้ ฉะนั้นบางครั้งคุณก็จะแพ้อย่างเลี่ยงไม่ได้, เมื่อรู้ว่า เราคุมความแน่นอนไม่ได้ แล้วควบคุมอะไรได้ ? คำตอบคือ คุณสามารถที่จะควบคุม กำไรของคุณเองได้ กล่าวคือ ถ้าตลาดมอบโอกาสที่จะเก็บกำไรให้ โดยมาทางเดียวกับคุณ, แผนการออกของคุณ จะเป็นตัวกำหนดว่า คุณจะได้กำไรมากน้อยแค่ไหน, นั่นคือ คุณควบคุมปริมาณการเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้ว่าอยากให้มันวิ่งไปไกลแค่ไหน สิ่งที่คุณก็ควบคุมได้ก้มีแค่ ส่วนที่ต่อจากตลาดอีกที ว่า ถ้าตลาดวิ่งไปทางเดียวกับคุณแล้ว คุณจะเลือกรับกำไรมากแค่ไหนแค่นั้น (Note ผู้แปล : เช่นตลาดวิ่งถูกทางกับคุณ 200 pip, คุณไปบังคับตลาดให้วิ่งมากหรือน้อยกว่า 200 pip ไม่ได้, แต่คุณเลือกแผนการออกได้ว่า จะเสี่ยงน้อยรับแค่ 50 pip โดยไม่ต้องทนการแกว่งเลย, หรือ จะเสี่ยงรับ 150 pip โดยที่ต้องทนการแกว่ง ซึ่งอาจะลึกเข้ามาถึงแดนลบของคุณก่อน)
คุณวางแผนบุกได้ไม่เต็มที่เพราะความไม่แน่นอน แต่ ตอนวางแผนการรับนั้น พบว่าสิ่งที่คุณควบคุมได้เต็มๆคือ รูปแบบการแพ้ของคุณ, ถ้าคุณลงเอยด้วย การแพ้ครั้งใหญ่ นั่นก็เพราะคุณไม่ได้เลือกวิธีออกแบบ แพ้เล็กๆ, การแพ้ครั้งใหญ่ คือสิ่งที่จะทำให้คุณตายจากตลาดได้ ฉะนั้นถ้าคุณต้องการแน่ใจว่า คุณจะไม่ตายจากตลาด คุณก็ต้องเลือกเดินเส้นทางที่จะพบกับ ชนะเล็กๆ แต่ บ่อยๆ, แพ้เล็กๆ แต่ บ่อยๆ, เท่าทุนบ่อยๆ และ นานๆถึงจะชนะครั้งใหญ่สักที แต่ คุณจะไม่มีวันพบกับ การแพ้ครั้งใหญ่เลย, ฉะนั้น ถ้าคุณเน้นที่จะป้องกัน ไม่อยากตายจากตลาด ก็ต้องควบคุมความเสี่ยงไม่ให้เจอการแพ้ครั้งใหญ่ (Note ผู้แปล : หมายถึงว่า ต้องมีการใส่ stop loss ทุกออเดอร์ โดยที่ต้องวาง Stop Loss ไม่ให้กินทุนมากนัก)

ความเชื่อ #6 : รูปแบบการออก แต่ละแบบ ใช้ได้ดีกับ ตลาดที่แตกต่างกันไป
เราได้พิสูจน์กันจนเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ว่า
- ในตลาด sideway แกว่งตัว :  การออกด้วยวิธี ตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า แบบ Trailing Stop
- ในตลาดเป็นเทรนแบบราบเรียบ ไม่ค่อยแกว่ง: Trailing Stop จะทำกำไรได้ดีกว่า แบบ ตั้งเป้าล่วงหน้า
- ในตลาดที่เป็นเทรนที่แกว่งตัวรุนแรง : การออกด้วยวิธี ตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า Trailing Stop
เมื่อเข้าใจเรื่องนี้แล้ว เราต้องดุว่า ตลาดของเราเคลื่อนตัวแบบไหน ซึ่งจะส่งผลต่อ style การเทรด และ แผนการออก ของคุณ, ที่สำคัญสุดคืออย่าลืมคิดด้วยว่า วิธีออกที่คุณเลือก ยังเหมาะกับ นิสัยของคุณหรือเปล่า ?


--------------------- จบ Part 4 by Rojer FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3--------------

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

[Exit Strategy] Part 3 : My Exit Beliefs

[Exit Strategy] Article 2 part 1 : My Exit Beliefs
ใน Article 1 เราได้เปรียบเทียบกราฟ 4 แบบที่ต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบว่า การออกแบบไหนดี, ทำให้ได้ข้อสรุปมาสองข้อดังนี้
a. ในทุกกรณี, ไม่ว่า กำไรหรือขาดทุน ก็ล้วนเป็นผลมาจาก การเลือกวิธี Stop และ Exit, สำหรับ การเข้าด้วยวิธีหนึ่งวิธี มันกลับมีวิธีออกมากมาย, การออกบางวิธีทำให้กำไร บางวิธีขาดทุน, นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ การออก มากกว่า การเข้า, แม้ว่าการเข้าก็เป็นส่วนที่สำคัญมากก็ตาม
b. เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้า ว่า วิธีออกไหน จะดีที่สุดสำหรับแต่ละออเดอร์, บางครั้ง การตั้ง Stop แคบดีกว่ากว้าง, บางครั้ง Stop กว้างดีกว่า, ส่วนวิธีออกด้วยกำไร บางครั้งการตั้งเป้าล่วงหน้าดีกว่า และ บางครั้ง Trailing Stop ก็ดีกว่า
            ในตอนนี้ ผมจะพูดถึง หลักการและความเชื่อส่วนตัวของผม (Lance Beggs) ที่ผมใช้ในการสร้าง ระบบออกของผม, แต่อย่าเชื่อทำพูดของผมเด็ดขาด จนกว่าจะได้ทสอบด้วยตัวเองก่อน เพราะความเชื่อและวิธีของผม ใช้ได้ดีกับผม แต่อาจจะไม่เข้ากับของคุณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาหรือ ทางเทคนิคอลก็ตาม, ฉะนั้น ขอให้ลองทดสอบ ทบทวน และ เลือกเอาส่วนที่เหมาะกับคุณไปใช้งานก็พอ

ภาพของผู้แต่ง (Lance Beggs) อันหล่อเหลานะครับ, เป็นอดีต นายทหาร นักบินขับ ฮ. และ ผู้เชี่ยวชาญ ความปลอดภัยทางด้านการบิน, เขาใช้ความรู้เรื่อง Human Factor, Risk Management, Crew Resource Management ประยุกต์ใช้กับการเทรด, ปัจจุบันเป็นเทรดเดอร์และเจ้าของ www.YourTradingCoach.com

ความเชื่อ #1 : ไม่มีกฎตายตัว สำหรับทุกๆสถานการณ์
ผุ้อ่านชอบอีเมล์ถามผมถึงแผนการออก โดยคาดหวังว่า ผมจะมีสูตรวิเศษ ที่ใช้ได้กับทุกกรณีแบบลักษณะนี้  (Note ผู้แปล: สูตรคณิตศาสตร์ต่อไป เป็นสูตรที่ผู้แต่งสมมติขึ้นมา โดยพยายามทำให้รู้สึกว่าซับซ้อนมากๆ อย่าพยายามแปลหรือทำความเข้าใจจะดีกว่านะครับ ^_^)
“If the standard deviation of the 14 period average true range (ATR) is less than 2/3 of π times the 3 period ATR,  then set  the stop at 1.8 ATR, else 2.5 ATR. Now set your stop and walk away.”
ซึ่งต้องขอโทษที่ทำให้คุณผิดหวัง เพราะสมการเมื่อกี้ผมมั่วขึ้นมา, ความจริงก็คือ ผมไม่รู้กฏหรือสมการใดๆที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์หรอก, ตามที่เราได้พิสูจน์กันไปในตอนที่แล้ว ว่า ในแต่ละกราฟแต่ละสถานการณ์ จะมีวิธีออกที่ดีแตกต่างกันไป จึงเป็นข่าวดีสำหรับคุณ ว่า ไม่ต้องท่องจำสมการข้างบนของผม

ความเชื่อ #2 : ไม่มีวันที่จะทำให้ วิธีออกสมบูรณ์แบบ
มีกรณีตัวอย่างอยู่ ว่า Larry Connors (ผู้แต่งร่วม Street Smarts) ได้พูดถึงเพื่อนของเขา ที่เทรด Futures ได้กำไรกว่า 100 ล้าน USD ว่า เพื่อนคนนั้นรู้สึกว่า จุดอ่อนที่ใหญ่สุดของเขาคือ การที่เขาไม่เคยเชี่ยวชาญวิธีออกของเขาเลย, ฉะนั้น ถ้าคุณเอง ไม่เชี่ยวชาญ วิธีออกของคุณ ก็คงไม่เป็นไรหรอกเนอะ
ผมเองก็ยังไม่เชี่ยวชาญวิธีออกของผมเช่นกัน แต่ผมก็มีความสุขดี และพอใจกับการเทรด 100 ล้าน USD ของผม ด้วยวิธีออกที่ยังไม่สมบูรณ์แบบของผม
คุณต้องยอมรับ ความไม่สมบูรณ์ และ ต้องอยู่กับมันมากกว่า การไปตามหาผลลัพธ์ในอุดมคติ, เมื่อคุณทดสอบระบบย้อนหลัง ย่อมจะเห็นชัดว่าคุณควรจะออกตรงไหนเป๊ะๆ แต่ยอมรับเถอะว่า ถ้าอยู่ในสถานการณ์จริง ณ ตอนนั้น คุณอาจจะไม่ได้ออกตรงนั้นหรอก ฉะนั้นผลการเทรดจริง มันจะไม่ดีเท่าผลการทดสอบระบบย้อนหลังแน่ๆ, เมื่อเข้าใจว่า การเทรดจริง มักได้กำไรน้อยกว่า ในอุดมคติ คุณก็ควรจะยอมรับ ความไม่สมบูรณ์ ได้เช่นกัน


ความเชื่อ #3 : การเทรดเสีย จะสร้างความเสียหายที่แท้จริงที่จิตใจ ไม่ใช่ทางด้านการเงิน
ความเสียหายใหญ่หลวง จากการเทรดเสียหนักๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นทางด้านการเงิน แต่อาจไปเสียหายที่จิตใจของคนเทรดมากกว่า,
กรณีแรก : ความเสียหายจาก การบาดเจ็บเพราะ ทนถือออเดอร์ที่มีคัทลอส แต่ถึงเวลาจริงกลับไม่ยอมคัท แบบนี้จะสร้างผลเสียทางจิตวิทยาที่รุงแรง และ ยากมากที่จะฟื้นคืน
กรณีที่สอง : ถ้าคุณออกเร็วไป ได้กำไรเพียงเล็กน้อย จากนั้นกราฟก็วิ่งระเบิดต่อ ปล่อยให้คุณได้แต่นั่งเสียดายว่า นี่อาจจะเป็นกำไรครั้งใหญ่สุดในชิวิต ถ้าไม่ออกเร็วไป, กรณีนี้ความเสียหายไม่ได้เกี่ยวกับการเงินเลย เพราะการอดกำไร ไม่ได้ก่อความเสียหายทางด้านการเงินเลยสักนิด แต่จิตวิทยาของเทรดเดอร์ต่างหากที่ได้รับความเสียหายเต็มๆ
กรณีที่สาม : ถ้าปล่อยให้ออเดอร์ วิ่งจากกำไร กลับมาเท่าทุน ตามด้วยขาดทุน แล้วไปออกที่ Stop Loss, แบบนี้ก็เสียหายด้านการเงินเพียงเล็กน้อยมาก แต่จะได้รับความเสียหายหนักที่จิตวิทยาเช่นกัน
เพราะมนุษย์อย่างเรา ย่อมจะมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา ฉะนั้นการจะเทรดแพ้เป็นครั้งคราว เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องไม่ให้มีเหตุการณ์ที่ ไปเสี่ยงเกินกว่า Money Management ในการเทรดแม้แต่ครั้งเดียว (Note ผู้แปล: เข้าใจว่าการเทรดนอกแผนที่วางไว้ ก็เป็นกรณีต้องห้ามเช่นกัน, เช่นไม่ยอมคัทลอสเมื่อถึงเวลาจริง), เพราะการทำเช่นนั้น มันจะเป็นการกัดกร่อนเงินทุน และ ทำให้เราตกอยู่ในภาวะ Draw Down ครั้งใหญ่ได้ ซึ่งจะตามมาด้วย ความเสียหายทางจิตวิทยาที่เกินเยียวยา, สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้นักเทรดมือใหม่ล้มหายตายจากออกไปจากตลาดอยู่ตลอดเวลา

--------------------- จบ Article 2 part  1 แปลโดย Rojer FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3--------------

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

[Exit Strategy] Part 2 : There is no “PERFECT EXIT” strategy (2)

Article 1 part 2 : There is no “PERFECT EXIT” strategy (2)
ครั้งที่แล้ว เราได้เปรียบเทียบ ระหว่าง คู่ชกสองคู่, ผลปรากฏว่า Stop แคบ ชนะ Stop กว้าง, และ การกำหนดเป้าล่วงหน้า ชนะ Trailing Stop, คราวนี้มาดูกันต่อว่า ถ้ากราฟหน้าตาเปลี่ยนไปแล้ว ผุ้ชนะรายเดิมจะยังทำกำไรได้ดีกว่าไหม


 ในรูป 3, ได้เข้า Short ที่ 1.9672 เพราะเห็น momentum การลง,
กำหนด Stop แคบ = S/L1 (บริเวณยอดใส้เทียนสูงๆนั้น)
Stop กว้าง = S/L 2 (บริเวณ High เดิม)
ในกรณีกราฟนี้ สำหรับคู่ชกแรก ไม่ว่าจะเลือกใช้ Stop แคบ หรือ กว้าง, ก็ไม่มีผลใดๆ เพราะราคาวิ่งลง เข้าทางของเรา Stop Loss จึงไม่ได้มีบทบาท,
คู่ชกอีกคู่ต่างหาก เป็นมวยคู่เอกของกราฟนี้, ผลปรากฏว่า หากเราใช้ Trailing Stop โดยการค่อยๆเลื่อน S/L ตามกราฟที่วิ่งลงมา ก็จะทำให้ได้กำไรมากกว่า การตั้งเป้าล่วงหน้า = 1.9650”, (ความจริงราคายังลงต่อจนทะลุกราฟที่แสดงไว้ ถ้าใช้วิธี Trailing Stop ตาม จะทำให้ได้กำไรประมาณ 100 pips, ขณะที่การตั้งเป้าล่วงหน้า จะได้กำไรประมาณ 10 pips)




ตัวอย่างต่อไป ตามภาพ 4, ครั้งนี้ ตลาดได้เริ่มลงมาจาก บริเวณ S/L 2, มีแท่งแดงใหญ่หลายๆแท่งลงมาอย่างหนัก แล้วก็พักตัวขึ้นไป ระหว่างการพักก็มีแท่งแดงใหญ่เกิดซ้ำอีก สองครั้ง, เราจึง Short ตอนที่เกิดแท่งแดงใหญ่หลังจากพักตัว ทำให้ได้ตามนี้คือ
ราคาทุน = 1.9530,
Stop แคบ = S/L1 บริเวณ High ล่าสุด
Stop กว้าง = S/L2 บริเวณ High ก่อนหน้านั้น (บริเวณเดียวกับ ที่ราคาเริ่มลงมาเป็นเทรน)
ในกรณีกราฟนี้ สำหรับคนที่เลือกใช้
Stop แคบ, จะโดน Stop และได้ออกจากตลาดไปบริเวณ A โดยขาดทุนเล็กน้อย, ขณะที่ Stop กว้าง จะทำให้เราได้กำไร
ส่วนอีกคู่ปรากฏว่า วิธี กำหนดเป้าล่วงหน้า = 1.9500 ก็จะกำไรประมาณ 30 pips, ขณะที่ วิธี Trailing Stop จะทำกำไรได้มากกว่านั้นอย่างเห็นได้ชัด
ฉะนั้น ในกราฟนี้ Stop กว้าง ชนะ Stop แคบ, Trailing Stop ชนะ การตั้งเป้าล่วงหน้า

จากตัวอย่างทั้ง 4 กราฟนี้, เราได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้
a. ในทุกกรณี, ไม่ว่า กำไรหรือขาดทุน ก็ล้วนเป็นผลมาจาก การเลือกวิธี Stop และ Exit, สำหรับ การเข้าด้วยวิธีหนึ่งวิธี มันกลับมีวิธีออกมากมาย, การออกบางวิธีทำให้กำไร บางวิธีขาดทุน, นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ การออก มากกว่า การเข้า, แม้ว่าการเข้าก็เป็นส่วนที่สำคัญมากก็ตาม
b. เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้า ว่า วิธีออกไหน จะดีที่สุดสำหรับแต่ละออเดอร์, บางครั้ง การตั้ง Stop แคบดีกว่ากว้าง, บางครั้ง Stop กว้างดีกว่า, ส่วนวิธีออกด้วยกำไร บางครั้งการตั้งเป้าล่วงหน้าดีกว่า และ บางครั้ง Trailing Stop ก็ดีกว่า
ถึงตรงนี่จบ Article 1 แล้ว,
หากใครตระหนักว่า การออก สำคัญกว่า การเข้า คุณเริ่มเข้าใจแล้ว
ส่วนถ้าใครยังตามหา วิธีการออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกออเดอร์ คุณยังไม่เข้าใจเลยนี่
ตอนหน้า เราะจะมาพูดถึงหลักการออก ที่ผมคิดว่าเหมาะสมที่สุดกับผม(ผู้แต่ง Lance Beggs), ระหว่างนี้ ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ไม่ว่าจะเลือก Stop แบบไหน, ห้าม ปล่อยให้ราคาวิ่งผ่าน Stop นั้นโดยไม่ปิดออเดอร์, การถืออเดอร์ข้าม Stop ของเรา โดยนั่งภาวนาว่ามันจะเด้งกลับมาในทางของเรา เป็นวิธีของ การพนัน ไม่ใช่ การเทรด, ถ้าคุณทำเช่นนั้น คุณก็ต้องเรียกตัวเองว่า นักพนัน ไม่ใช่ Trader อีกต่อไป

--------------------- จบ Article 1 part 2 แปลโดย Rojer FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3--------------

[Exit Strategy] Part 1 : There is no “PERFECT EXIT” strategy (1)

The importance of Exit Strategy

บทแปลสรุปนี้ แปลจาก e-Book : The importance of Exit Strategy, ซึ่งทางเจ้าของให้สิทธิในการเผยแพร่ได้เต็มรูปแบบ, พี่อ้อ Smile FX เอามาให้ผมเพราะห็นว่ามีประโยชน์มาก, ดูจากปริมาณเนื้อหาที่ไม่มาก (น้อยกว่ามาก ถ้าเทียบหนังสือ Reading Price Chart )  ผมจึงเร่งแปลเล่มนี้ให้ทุกคนได้อ่านก่อนเลยครับ




Article 1 part 1 : There is no “PERFECT EXIT” strategy
               
ในการเทรดคนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ จุดเข้า มากกว่า จุดออก, เห็นได้จาก ถ้าลองไปที่ Forum ของเวปเทรดใดๆ จะเห็นแต่พูดถึงกันแต่ วิธีเข้าใหม่ๆ, น้อยมากที่จะพูดถึง การออก กัน
                ผม(ผู้แต่ง Lance Beggs) เชื่อว่า การออก เป็นสิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการเทรด มากกว่า การเข้า

ตัวอย่างในรูป 1, สมมุติว่า เราใช้ระบบ EMA cross, เมื่อเส้น EMA แดง ข้ามเส้นน้ำเงินขึ้นมา
เราก็เปิด Long หลังจากจบแท่งเขียว ทำให้ได้ราคาเข้าที่ 1.9727,
ถ้าใช้ stop ที่แคบ เราก็ตั้งที่ S/L 1 ด้วยเหตุผลคือ swing low ล่าสุด, แบบนี้ คือ Stop แคบ
ถ้าใช้ stop ที่กว้างขึ้นมาก็ตั้งที่ S/L 2 ที่ตำแหน่ง swing low ชุดก่อนหน้า บริเวณ 1.9700,  แบบนี้ คือ Stop กว้าง
อีกสักครู่เราจะมาดูกันว่า การตั้ง S/L ทั้งสองแบบนี้ (Stop แคบ กับ กว้าง) จะให้ผลเช่นไร
                ถ้าเราตั้ง Target ที่ บริเวณ A  = 1.9750 , ด้วยเหตุผลว่า มักจะมีการพักของราคาที่ตัวเลขกลมๆ, แบบนี้ เรียกว่า การกำหนดเป้าล่วงหน้า , ซึ่งครั้งนี้ถ้ าเราใช้วิธีนี้ เราก็จะได้กำไร
ถ้าราคาขึ้นมาพอสมควร แล้วเราเลื่อน Stop Loss ตามขึ้นมาที่จุดที่เราเข้า 1.9727 ไม่ว่าจาก S/L1 หรือ S/L2 ก็ตาม แบบนี้เรียกว่า “Trailing Stop” หรือชื่อไทยก็ วิธีเลื่อน Stop ตาม, ถ้าเราใช้วิธีนี้ เราก็จะโดน stop ออกไปบริเวณ B, ซึ่งก็ยังถือว่าไม่เลวนัก แม้ว่าจะได้แค่เท่าทุน
ถ้าเราไม่เลื่อน SL ขึ้นมา = จุดเข้า 1.9727, เราก็จะมีโอกาสได้ออกที่ C อีกครั้ง ที่ราคาประมาณ 1.9750, ก็เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ยังกำไร แต่ถ้าเราไม่ออกที่จุด C เพราะไปยึดหลักว่า Let Profit run, ซึ่งหลักการแบบนี้ต้องใช้วิธี Trailing Stop ตาม swing ที่ขึ้นมาด้วย (เลื่อน S/L ขึ้นมาที่บริเวณ B) ก็จะทำให้เราโดน Stop out ที่จุด D ซึ่งขาดทุนเล็กน้อย, ซึ่งหากเทียบกันแล้ว การขาดทุนเล็กน้อยแบบนี้ ย่อมดีกว่า การขาดทุนหนักๆ แบบข้างล่าง
ถ้าเราไม่เลื่อน S/L ขึ้นมา ก็จะทำให้ไปโดน stop ที่ E = S/L1 และ F = S/L2,
เมื่อราคาวิ่งลงมาต่ำกว่า S/L 2 แต่ ถ้าไม่ยอมคัทลอส ที่ F = S/L2, ทนถือออเดอร์ต่อ ด้วยความหวังว่า ราคาจะกลับทิศขึ้นไป แบบนี้เรียก การพนัน, ซึ่งครั้งนี้โชคดี เพราะบังเอิญมีข่าวเศรษฐกิจออกมา แล้ว ทำให้ราคาวิ่งขึ้นไป
ทีนี้มาวิเคราะห์กัน ว่าการใช้ Stop Loss แบบไหนดีที่สุด, วิธีที่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในครั้งนี้คือ วิธีพนัน(ไม่มี Stop Loss เลย) แต่ว่า วิธีแบบนี้ ไม่มีเทรดเดอร์อาชีพคนไหน ที่จะมองว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องเด็ดขาด, เพราะตลาดอาจจะวิ่งไปในทางตรงข้ามอย่างรุนแรงได้ทุกเมื่อ ซึ่งหากยังใช้วิธีการพนันเรื่อยๆ มันเป็นการก้าวเข้าใกล้สู่ความล้มเหลวในการเทรดในที่สุด
 สำหรับ คนที่คิดจะใช้ Risk Management, วิธีการที่ถูกต้องคือ การออกตามแผนที่วางไว้ล่วงหน้าก่อนเข้าออเดอร์ (ที่ A = 1.9750),ซึ่งครั้งนี้ ชนะ วิธีการเลื่อน Trailing Stop
ส่วนการเลือก Stop ช่วงแคบๆ = S/L1 ก็เห็นได้ชัดว่า ดีกว่า การใช้ stop ช่วงกว้าง = S/L2 ด้วยเหตุผลว่า เราได้จำกัดความเสี่ยงของเราไว้ให้ต่ำที่สุด เมื่อตลาดไม่สามารถขึ้นไปตามที่เราหวังไว้ได้
--------------------------------------------------------------------------------------

เรามาลองดู ตัวอย่างอีกอัน ในรูป 2, มันเป็นกราฟเดียวกัน กับรูปที่แล้ว แต่เลื่อนเวลาไปข้างหน้าเล็กน้อย
ครั้งนี้ หลังจาก EMA แดง ตัด น้ำเงินลงมาล่าง (บริเวณ S/L 1), อีกทั้งเห็นว่าราคาไม่สามาถฝ่า 1.9750 ขึ้นไปได้ถึงสองครั้ง และตามมาด้วยการได้เห็น Lower Low เรื่อยๆ, เราจึงสามารถตัดสินใจ เข้า Short ที่บริเวณ 1.9715, แล้วก็ใช้ stop แบบแคบ = S/L1 (บริเวณด้านบนของโดจิ) , Stop แบบกว้าง = S/L2 (บริเวณ High เดิม)
มาดูกันว่า คราวนี้แบบไหนจะดีกว่ากัน [Stop แคบ หรือ Stop กว้าง], [ออกที่ เป้าที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หรือ Trailing Stop]
ถ้าใช้ เป้าที่กำหนดล่วงหน้า ที่ตัวเลขกลมๆ A = 1.9700, ครั้งนี้เราก็จะได้กำไร
ถ้าเรารอดูอีกนิด ว่า จะทะลุเลขกลมๆได้ไหม แต่ปรากฏว่าไม่ทะลุ แล้วย้อนขึ้นไป เราก็อาจจะออกที่ B, ซึ่งก็กำไรเช่นกันและ พอๆกับ A (ซึ่ง B ก็ถือว่าเป็นระบบ เป้าล่วงหน้าเหมือน A)
ถ้าเราไม่ได้ กำหนดเป้าไว้ล่วงหน้า แล้ว ใช้ Trailing Stop, เราก็คงจะได้ออกที่ C = ราคาทุน, แต่ถ้าไม่เลื่อน Trailing Stop ก็จะได้ออกที่ D = S/L1 หรือ E=S/L2
ส่วนถ้าใครเล่นแบบพนัน คือไม่ตั้ง Stop Loss ก็จะบาดเจ็บอย่างหนัก อาจจะเป็นการเทรดครั้งสุดท้ายในชีวิตเลยด้วยซ้ำไป
ส่วนการเปรียบเทียบระหว่าง Stop แคบ กับ กว้าง, ในครั้งนี้ ก็ยังพบว่า Stop แคบ ให้ผลดีกว่า Stop กว้าง, และ การตั้งเป้าล่วงหน้า ก็ดีกว่า การใช้ Trailing Stop

แต่ ผลการตัดสิน ระหว่าง
Stop แคบ กับ กว้าง, และ การตั้งเป้าล่วงหน้า กับ Trailing Stop ไม่ใช่ว่า Stop แคบจะชนะเสมอไป, เช่นเดียวกับ การตั้งเป้าล่วงหน้า ก็ไม่ใช่จะชนะ Trailing Stop เสมอไปเช่นเดียวกัน
ตอนหน้า เราจะมาดูกัน ว่า ถ้ากราฟมีหน้าตาเปลี่ยนไป ใครจะชนะกันแน่ ระหว่าง คู่ชก สองคู่นั้น (Stop แคบ VS กว้าง) กับ (กำหนดเป้าล่วงหน้า VS Trailing Stop)

--------------------- จบ Article 1 part 1 แปลโดย Rojer FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3--------------

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 3 : False Reversal Bar

[Price Action] Part 3 : False Reversal Bar
           

พูดถึงเรื่อง แท่งเทียนกลับตัวต่อจากตอนที่แล้ว ว่า แม้ว่าตัวแท่งเทียนกลับตัวจะสวยในตัวแท่งมันเอง แต่ก็ต้องดูบริบทสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อพิจารณากว่าเป็นการ Setup เพื่อกลับตัวจริงไหม, ตอนนี้เราจะมาพิจารณาแท่งเทียนที่ดูเหมือนจะกลับตัว แต่ ไม่ใช่การกลับตัวจริงๆกัน (False Reversal)
ถ้า แท่งเทียนกลับตัว มีส่วนที่ overlap กับแท่งก่อนหน้ามาก, มันอาจจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ sideway, ไม่ใช่การกลับตัวจริงๆ, เช่นเดียวกับ กรณีถ้าหางของแท่งเทียนกลับตัวยาวเกินกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า(แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม), ซึ่งหากเจอแท่งเทียนกลับตัวในสภาวะบริบทรอบข้างเช่นนี้ เราก็ไม่ค่วรเข้าออเดอร์โดยคาดว่าจะกลับตัว

               
- สองกรณีนี้ ไม่ใช่ setup เพื่อกลับตัวที่แท้จริง, แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของ sideway มากกว่า



                -  ถ้าลำตัวของแท่งเทียนเล็กจนเป็นโดจิ แต่ทั้งแท่งซึ่งรวมหางด้วยนั้นใหญ่, แบบนี้ก็ไม่ควรเข้าเทรด เพราะเป็นการแสดงถึง sideway ในตัวแท่งนั้นๆ เราควรจะรอดูแท่งต่อไปมากกว่า



                - ถ้าแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น มีใส้ยาวๆที่ด้านบน แปลความมายได้ว่า ฝ่ายซื้อได้หมดความเชื่อมั่นไปก่อนที่เวลาปิดแท่ง จึงไม่ได้ทุ่มเทซื้อจนปิดแท่ง ซึ่งย่อมทำให้โอกาสในการกลับตัวย่อมลดลง






                - ถ้าแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้นปัจจุบันนั้นเล็กกว่า (โดยเฉพาะถ้าลำตัวเล็ก) เมื่อเทียบกับ แท่งกลับตัวขาลงสีแดง แท่งล่าสุดที่ผ่านมา แสดงว่ามีแรงกลับตัวขึ้นน้อย, แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าแท่งปัจจุบันมีลำตัวใหญ่ (แม้ทั้งแท่งจะเล็กกว่าแท่งกลับตัวแดงก่อนหน้า) และ อยู่ในบริบทสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ก็จะช่วยให้มีแรงมากขึ้น
               

- ถ้าเทรนเก่านั้นยังแข็งแรงอยู่ จะพบกรณีที่ ตอนต้นแท่งเทียน ก่อตัวเป็นรูปแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น แต่ เมื่อใกล้จะถึงเวลาปิดแท่งเทียน ราคากลับถล่มลงมาปิดต่ำ ทำให้แทนที่จะได้แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น กลับได้ แท่งเทรนขาลงแทน จึงต้องให้ความสำคัญของเวลาที่เหลือสำหรับปิดแท่งเทียนด้วย



- ถ้าเจอแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น ที่ลำตัวเล็กมาก จำเป็นต้องพิจารณาแท่งก่อนหน้าร่วมด้วย, แม้การมีหางล่างที่ยาว แสดงถึงพลังการซื้อจริงๆ แต่ การที่ลำตัวเล็ก อาจจะทำให้ราคาปิดของแท่งกลับตัวปัจจุบัน อยู่เหนือแท่งก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย, และยิ่งหากมีการ overlap กันมาก ก็จะแสดงความเป็น sideway ใน timeframe ที่เล็กกว่า ถ้าเจอกรณีนี้ ก็ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มเติม ก่อนจะเข้าออเดอร์






ในรูป 1.5, แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น (กำกับด้วย 1) overlap มากกับสี่แท่งก่อนหน้า แสดงได้เห็นถึงการมีพลังจาก ทั้งฝั่งซื้อ และ ฝั่งขาย, เมื่อแรงสองฝั่งเท่ากัน ย่อมหมายความว่า ฝั่งซื้อยังไม่ชนะ จึงยังเป็นไปไม่ได้ที่จะกลับตัวขึ้นไป ฉะนั้น แท่ง 1 ไม่ใช่ signal สำหรับการเข้าซื้อขาขึ้น
ส่วนแท่งเทียนที่กำกับด้วยเลข 2 ในรูป 1.5, เป็นแท่ง signal ที่ยอดเยี่ยมสำหรับขาลง เพราะอย่างแรกคือมันหักล้าง ภาพแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้นก่อนหน้ามัน (กำกับด้วย 1), อย่างที่สองคือ มันได้ย้อนกลับมาเข้าสู่ Trend Line ที่ลากมาจาก High ของวันได้ (เส้นสีม่วง)

กรณีที่ตลาดกำลังเป็น sideway down นั่นคือ มันกำลังสร้าง Bear Flag, เทรดเดอร์ที่ฉลาดจะพยายาม Sell ที่ใกล้ๆ High และ จะเข้า Buy ที่ ใกล้ๆ Low (จะเข้า Buy ก็ต่อเมื่อ Setup นั้นผิด เพราะในตลาดขาลง ปกติจะหลีกเลี่ยง การ Buy) ซึ่งตรงกับกลักการ Buy Low, Sell High อันเป็นหลักการที่ดีที่สุดข้อหนึ่งของการเทรด






แท่งเทียนกลับตัว ที่มีหางยาว และ ลำตัวเล็ก, ต้องพิจารณาบริบทสิ่งเวดล้อมก่อนหน้ามันร่วมด้วย, ในรูป 1.6 แท่งเทียนกลับตัว หมายเลข 1 เป็นแท่งเทียน Break out ลงล่าง ของ Channel ขาลงในภาวะที่ oversold ไปมากอยู่ก่อนแล้ว (ข้อสังเกตผู้แปล : มีคำที่แสดงถึงคำว่าลง ถึงสามครั้งในหนึ่งข้อความ) เมื่อมาถึงการ Break out นี้, Seller ที่กำไรแล้ว ย่อมอยากจะปิดทำกำไร จึงไม่มีแรงขายมาเพิ่มเติม กลับจะมีแรงซื้อจากการปิดทำกำไรแทน (เพิ่มเติมจากผู้แปล : นี่คือ false break out ที่พูดถึงไว้ในตอนที่ 1 ว่า, ถ้าเกิดการ Break out ต่อจากการวิ่งมานานแล้ว มักจะเป็น False Signal เพราะเช่นเดียวกับกรณีที่ว่า ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คนที่วิ่งมาราธอนมาไกลมากแล้ว ระเบิดพลังมา sprint สุดแรง เพื่อเริ่มวิ่ง 100 เมตรต่อทันทีโดยไม่ได้พัก, การทำแบบนั้นจะกลับทำให้หมดแรง แทนที่จะวิ่งไปต่อได้)
พิจารณา แท่งเทียน สีขาว หมายเลข 2 ในรูป 1.6 ต่อ, จะเห็นว่า มีการ overlap ประมาณ 50% กับ แท่งก่อนหน้า (สีดำใหญ่) รวมทั้ง overlap กับแท่งก่อนหน้านั้นอีกหลายๆแท่ง เป็นการแสดงออกถึงสภาวะตลาด sideway มากกว่าการเป็นแท่งเทียนกลับตัว, นอกจากนั้น นอกจากนั้น Low ก็อยู่บริเวณเดิมก่อนหน้านี้ ซึ่งแสดงออกยิ่งชัดว่า เป็น sideway , ดังนั้นเราไม่ควรเข้าเทรดที่แท่ง 2 นี้ จนกว่าตลาดจะเฉลยออกมา มากกว่านี้

------------------ จบ Chapter 1 Part 3 :   Signal Bar (False Reversal) แปลโดย Rojer FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3--------------