วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ย้ายบ้านไป www.chiangmaifx.com นะครับ

ย้ายบ้านไป www.chiangmaifx.com นะครับ
มีทั้งเนื้อหาใหม่ๆ และ มีการรวบรวมผลงานเข้าไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกันนะครับ
เชิญตามไปอ่านได้ที่นั่นเลยครับผม

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 8 : ตัวอย่างกราฟจริง พร้อมคำอธิบาย และ วิธีประเมิน



[Price Action] Part 8 : ตัวอย่างกราฟจริง พร้อมคำอธิบาย และ วิธีประเมิน
                ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 7) ได้ดูตัวอย่างการดู Price Action ของแท่งเทียนจากกราฟจริงกันไปค่อนข้างเยอะ, ตอนนี้ก็มาดูตัวอย่างเพิ่มเติมกันอีก ซึ่งจะช่วยเสริมประสบการณ์จริงเพิ่มเติมกันครับ

                ใน Fig 1.15, บริเวณเลข 1 มีแท่งคู่แฝดกลับตัว ลง-ขึ้น ซึ่งลงไปทดสอบ Trend Channel Line, หากมองย้อนไปก่อนหน้าจะมาถึงจุดกลับตัว มีการขายอย่างดุเดือดและต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ, 16 แท่งจากในทั้งหมด 17 แท่งที่เกิดเป็น Lower High, โดยปกติเป็นไปไม่ได้ที่จะขายอย่างรุนแรงขนาดนั้นตลอดไป ดังนั้นพอเกิด climax (จุดต่ำสุด) แล้วมักจะตามด้วย การปรับตัวขึ้น ซึ่งมักจะเกิดต่อเนื่องหลายแท่งเทียน, ปกติเกิดอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงถ้าเป็นกราฟ 5 นาที

ใน Fig 1.16, แท่ง 4 เป็นแท่งคู่แฝด กลับตัว ขึ้น-ลง หลังจากทะลุ High เดิมของเมื่อวาน, ทะลุ Bull Trend Channel ขึ้นมา และ หลังจาก ทะลุ small flag (แท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมชายธง) บริเวณแท่ง 3 ขึ้นมาด้วย
                แท่ง 1 แท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น แต่ไม่ใช่นัญญาณกลับตัวที่ดี เพราะสองแท่งลงก่อนหน้านั้นมี โมเมนตัมการลงมากเกินไป, หลังจากคู่แฝดแรก ก็เกิดแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น อีกคู่ ซึ่งการเกิดคู่ต่อเนื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง, การเกิดแท่งเทียนสี่แท่งที่ overlap กันแบบนี้มันเป็น Bear Flag และ ในตลาดหมี ในภาวะ sideway คุณไม่ควรเข้าซื้อที่ราคาปิดของ แท่ง 1 เพราะมันจะกลายเป็น ด้านบนของช่วงราคา sideway, แม้ว่า รูปแบบแท่งคุ่เป็นสัญญาณกลับตัว แต่การหยุดการวิ่งครั้งแรก หลังจากการ Break out ปกติมักเป็นแค่การพักตัว และ ตามด้วยการวิ่งต่อในทิศเดิม (Note ผู้แปล: พูดอีกแบบหนึ่งว่า หลังจากเริ่มวิ่งอย่างแข็งแรง การหยุดครั้งแรก มักไม่ใช่การกลับตัวทันที ดังนั้นอย่าเพิ่งสวนเทรนทันที)
                แท่ง 2 แท่งหมีขนาดใหญ่, เป็นแท่งที่ให้ตาม short ที่ดี, เพราะมีคนที่พลาด Buy ไว้ที่ High ของแท่งคู่แฝด (ราคาปิดของ แท่ง 1)  และราคาก็มาพักตัวที่ EMA พอดี, จึงเป็นจุด Follow ตามเทรนขาลงที่ดี, แต่ถ้าจะรอให้จบแท่ง 2 ก่อนค่อยเข้าอาจจะช้าไปหน่อยเพราะ จะเห็นว่า แท่ง 2 นี้มีราคาปิดที่ต่ำกว่า Low ของแท่งก่อนหน้ามันมาก และ มีคน short นำไปแล้วก่อนที่จะปิดแท่ง 2 นี้ ด้วยเหตุผลว่า เห็น Low หลังจากแตะเส้น EMA (Note ผู้แปล : เหมือนกับว่า ราคาได้มาพักที่ EMA แล้วก็แสดงอาการพักพอแล้ว และส่งสัญญาณจะลงต่อด้วยการเห็น Low ใหม่)

                ใน Fig 1.17,  แท่ง 1 เป็นแท่งหัวตัน ไร้หางทั้งบน และ ล่าง เกิดในภาวะที่เห็นแรงขายเริ่มมากขี้นเรื่อยๆ, เป็นสัญญาณที่ชัดเจนสำหรับการให้ sell ตามเทรนไป เพราะแท่ง 1 นี้แสดงไว้ชัดว่า เกิดการขายอย่างรุนแรงตั้งแต่เริ่มแท่งเทียนจนถึงจบ โดยไม่มีวี่แววของแรงซื้อเลย ดังนั้นแรงขายก็น่าจะเดินหน้าต่ออีก ซึ่งกรณีแบบนี้ ปกติจะต้องเข้าออเดอร์ sell ให้เร็วหน่อยเพราะราคาจะวิ่งเร็ว
                แท่ง 2 เป็นแท่งหัวตัน ไร้ใส้ด้านบน เกิดในเทรนขาลง, แต่เพราะก่อนหน้านั้นราคาไม่ได้ทิ้งดิ่งลงมา ในกรณีนี้ จึงไม่มีเหตุผลพอในการ sell, แต่ก็มีเหตุผลอื่นคือ เกิด inside bar ก่อนหน้าในตลาดหมี จึงสามารถ sell ได้เช่นกัน
                แท่ง 3 เป็นแท่งกระทิงหัวตันทั้งบน และ ล่าง, แต่ก่อนหน้านั้นเป็นตลาดหมี จึงไม่ใช่สัญญาณสำหรับเข้า buy ทันที, (Note ผู้แปล : ไม่เหมือนแท่ง 1 ที่เป็นแท่งลงตัน ในตลาดหมี ซึ่งให้ sell ตามได้ทันที), ถ้าดูแท่ง 3 คู่กับก่อนหน้า จะเห็นว่าเป็นแท่งคู่แฝดด้วย ซึ่งก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักในการเข้า buy ได้อีก จึงพอจะเข้า buy ได้ อย่างน้อยก็สำหรับ การเล่นสั้นๆ (scalping)
                ส่วน แท่ง 4 กับ แท่ง 5 ดูผิวเผิน หรือ ดูแท่งเดี่ยวๆ จะคิดว่าเป็นสัญญาณให้ตามเทรน เพราะเป็นแท่งหัวตัน, แต่ที่จริงแล้ว ไม่มีความหมายใดๆในการตีความตามเทรนเลย เพราะพวกมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งอย่างรุนแรงของราคา (Note ผู้แปล : ผมจะพูดอยู่เสมอ ว่า การดูสัญญาณต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดู บริบท สิ่งแวดล้มด้วยเสมอ, แท่งเทียนก็เช่นกัน อย่าดูและจดจำแท่งเดี่ยวๆ, ต้องศึกษาทั้งหน้าตาแท่งเดี่ยว ,สิ่งแวดล้อมทั้งก่อนหน้ามัน และตำแน่งของมันด้วยเสมอ จึงจะครบถ้วน)
               

                Fig 1.18, ในกราฟ 5 นาทีอันนี้ มีตัวอย่างที่ดี ที่พบได้บ่อยๆ หลายอัน
                แท่ง 1 เป็น โดจิ ลำตัวขนาดจิ๋ว และเป็นแท่งที่ 3 แล้วที่มีการ
overlap กันมาก, หากเข้า Buy ที่ราคาเหนือ แท่ง 1 นี้คงเป็นการกระทำที่โง่ทีเดียว เพราะ EMA เองก็บอกอยู่ว่าราคาอยู่ต่ำกว่า EMA
                แท่ง 2 เป็นแท่งกลับตัวที่ดี เพราะเกิด new Low ก่อน แล้วย้อนกลับมาไกล ทำให้เกิดหางยาว และ ยังย้อนกลับขึ้นไปต่อ ทำให้ได้ลำตัวขนาดพอสมควรด้วย แต่ก็มีสัญญาณแสดงความอ่อนแอบ้าง โดยมีใส้ด้านบน ซึ่งแท่งต่อมาได้ลบล้างความอ่อนแอนี้ ด้วยแท่งเทรนขนาดใหญ่ ซึ่งทะลุ Trend Line ออกไปด้วยกำลัง
                แท่ง 3 เป็นแท่ง out side bar, ที่เกิดหลังจากการหยุดพัก และ เป็นแท่ง Break out ทำ new High ของวัน, ซึ่งปกติแล้ว out side bar แบบนี้จะเกิดขึ้นเร็วมาก จนตามเปิดออเดอร์กันไม่ค่อยทัน
                แท่ง 4 เป็น แท่งโดจิที่เกิดที่ new High, แต่โมเมนตัมจากการขึ้นนั้นแรงมาก และ แท่งกลับตัวนั้นอ่อนแอ (หางล่างยังยาว) จึงยังไม่ควรเข้า sell ตรงนี้, ควรจะรอสัญญาณ sell ครั้งที่สองก่อน (ปกติจะเกิดทีหลังจากนี้ ในระลองคลื่นต่อๆไป)
                แท่ง 5 เป็นแท่งกระทิง
out side bar ที่เกิดหลังจาก การพักตัว (Pull back) สู่ EMA ครั้งแรก ในตลาดกระทิงดุ จึงเป็นจุดที่น่า Long ตามเทรนเดิมมาก
                แท่ง 6 เป็นแท่งกลับตัวที่ค่อนข้างเล็ก แต่เป็นสัญญาณ sell ครั้งที่สอง (ต่อเนื่องจาก ตอนเกิดแท่ง 4 เป็นสัญญาณ sell แรก) และ เป็นการขึ้นมาของคลื่นระลอกที่สอง, นับตั้งแต่ (ขึ้นมาจาก แท่ง 2 มาพักที่ แท่ง 4 เป็นคลื่นแรก), แล้วก็ (ขึ้นจาก แท่ง 5 มาถึง แท่ง 6 เป็นระลองที่สอง), ซึ่งคลื่นระลองสองแบบนี้มักจะเกิดการกลับตัว
                แท่ง 7 เป็น รุปแบบ ii ซึ่งอยู่ในเทรนลง ที่คาดว่า อย่างน้อยก็ต้องลงไปถึง EMA และ ควรจะข้าม EMA ได้ด้วย เพราะราคาเคยเข้าทดสอบ EMA แล้วครั้งหนึ่ง ตอนแท่ง 5, ซึ่งถ้าเข้า sell ที่นี่ต้องวาง Stop Loss ไว้ที่เหนือ High ของ ii นี้, โดยปกติแล้ว หากราคาใกล้กันมากเกินไป (มีพื้นที่ให้ราคาแกว่งน้อยไป) ก็อาจจะวาง Stop Loss ไว้ไกลกว่า High เล็กน้อย, สำหรับคนที่เข้า Long ไว้ที่เหนือราคา High ของแท่ง 7 เขาจะเปลี่ยนฝั่งมา sell เมื่อราคาต่ำกว่า Low ของ 7, แท่งต่อมาจึงเกิด Out side bar ขนาดใหญ่ตามมา
                แท่ง 8 เป็น Lower High (เทียบ 8 กับ 6 ตามภาพ) และเป็นโดจิ, ปกติแล้วเราไม่ควร sell ที่ขอบล่าง ของโดจิ เพราะโดจิแสดงภาวะ side way, แต่การเกิดแท่งโดจิสามแท่งติดกัน มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการกลับตัว (Note ผู้แปล : เกิดโดจิหลายแท่ง เกิดนานๆ หมายความว่า แรงที่ขึ้นมาก่อนหน้านี้ได้หมดลงอย่างสมบูรณ์แล้ว เพราะการแสดงเกิดภาวะ sideway อย่างยาวนาน ย่อมหมายถึง แรงขึ้นกับลงเท่ากันแล้ว พร้อมจะไปด้านไหนก็ได้แล้ว) โดจิสามแท่งนี้ จึงทำหน้าที่เหมือนรูปแบบกลับตัว ii จึงมีเหตุผลที่ดีพอควรในการเข้า Sell
                แท่ง 9 เป็นแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น (ซึ่งถ้าคุณจิตนาการออก มันคือแท่งเทียนกลับตัวหางล่างยาวใน time frame ใหญ่กว่า คือ 10 นาที) ที่มาทดสอบ Low เดิมที่บริเวณ แท่ง 5, และก็เป็นคลื่นระลอกที่ 2 นับตั้งแต่ แท่ง 6 ลงมา (Note ผู้แปล : คลื่นระลอกสอง มีเหตุผลตามที่ผุ้แต่งบอกไปก่อนหน้านี้ว่า มีโอกาสกลับตัวสูง เมื่อมีอีก 2 เหตุผลคือ เป็นแท่งคู่แฝดแสดงการกลับตัว และ เป็นการทดสอบ Low ของแท่ง 5 , รวมเป็น 3 เหตุผลส่งเสริมกัน จึงน่าเข้า Buy มาก โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ EMA นั่นเอง)
                แท่ง 10 เป็นแท่งหมี และมี
Low เท่ากันในตลาดหมี จึงเป็น Double Bottom Twin Short ที่ให้เปิด short เมื่อราคาทะลุ Low เหล่านี้ลงไปได้
                แท่ง 11 เกิดที่คลื่นลงระลอกที่สาม, ก่อนแท่ง 11 เป็นแท่ง โดจิขนาดใหญ่, ส่วนแท่ง 11 เองมีหางล่างยาว ลำตัวเล็ก และ overlap กับแท่งก่อนหน้ามันอยู่เยอะ จึงควรตีความว่าโอกาสจะเกิดภาวะ sideway และรอดูตลาดต่อไป มากกว่าที่จะไปมองว่าแท่ง 11 เป็นแท่งกลับตัวทันที

                (Note ผู้แปล : การเรียนรู้จากตัวอย่างจริง ดูเหมือนจะมีประโยชน์มากทีเดียว, ตัวผมเองก็ชอบดูตัวอย่างจริงพร้อมคำอธิบายแบบนี้, ตอนหน้าก็จะยังมาดูตัวอย่างจริงแบบนี้กันต่ออีกครับ)

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 7 : อีก 4 ตัวอย่างการดูแท่งเทียนจากกราฟจริง



[Price Action] Part 7 : อีก 4 ตัวอย่างการดูแท่งเทียนจากกราฟจริง
                ตอนที่แล้ว ได้มาเริ่มดูตัวอย่างกราฟจริงพร้อมการวิเคราะห์ต่างๆ, คราวนี้มาดูตัวอย่างกราฟจริงเพิ่มเติมกันอีกสัก 4 ตัวอย่างกัน

ใน Figure 1.11, ตำแหน่ง 5ii เป็นจุดเข้า Buy แบบความเสี่ยงสูง (Note ผู้แปล: คนที่ไม่รู้ว่าอะไรคือ ii ให้ย้อนไปอ่าน บทแปล Part 5 กับ 6 ของบทแปลชุดนี้) เพราะมันเป็นการทดสอบ Double Bottom และเห็นรูปแบบการกลับตัวที่ 5ii แต่ก็ยังเสี่ยงเพราะ ยังไม่ผ่าน Trend line ที่กดไว้ลงมาจาก 4,
จากนั้นเมื่อมาถึง 6ii จะเป็นจุดเข้า Buy ที่สอง ที่เกิดเป็นสามเหลี่ยมชายธง ที่ลากสามเหลี่ยมมาได้ไกลจนทะลุ Trend Line ที่กดไว้ลงมาจาก 4 สำเร็จ
                แท่ง 7 เป็นจุดเข้า Buy ที่สาม, ที่เกิดจาก Failed-Failed (Failed แรกคือ ราคาล้มเหลวที่จะ Break ขึ้นไป, จากนั้นก็พยายามลง แต่ก็ล้มเหลวในการลงเป็น Failed ที่สอง) ซึ่ง Failed ที่สองเป้นสิ่งที่ค่อนข้างเชื่อได้
                ปกติ หากเกิด Double Bottom แล้ว ราคาย้อนขึ้นไป จากนั้นถ้ามีการพักตัวลงอีกรอบ จะมีการพักลงมาลึกมากว่า 50% (บ่อยครั้งที่จะลงไปถึงล่างสุดของ Double Bottom แล้วกลายเป็น Triple Bottom) แล้ว มักจะเกิด Higher Low และจะเป็นรูปโค้งที่ Low ใหม่นั้นๆ, มุมมองหนึ่งจะอธิบายว่า มันเป็นการสะสมกำลัง, อีกมุมมองที่สำคัญจะอธิบายว่า ตลาดไม่สามารถทำ Lower Low ได้ในการพยายามครั้งที่สาม (ครั้งที่สอง พยายามตอน แท่ง 3, ครั้งที่สามยายามอีกตอน แท่ง 5), เมื่อไม่สามารถลงไปต่ำกว่าเดิมได้ แรงขายก็เริ่มลังเล และ แรงซื้อเริ่มเข้ามาแทนที่ในที่สุด


                ใน Figure 1.12, แท่ง 2 (แท่งเล็กๆก่อนหน้า แท่ง Bull ใหญ่) เป็นแท่งจิ๋ว ซึ่งเป็น Higher Low จึงเป็นจุดเข้า Buy ที่ดี ประกอบกับเหตุผลเรื่อง Failed Final Flag และ มันเองก็เกือบจะเป็น ii ด้วย, ส่วน สองแท่งก่อนหน้ามัน ยังไม่ได้ Break Down Trend Line เป็นจุดที่ยังเสี่ยงสูง ยังไม่ปลอดภัยที่จะเข้า Buy ที่ตรงนั้น
                สำหรับแท่ง
1 (แท่ง Reversal สีขาว), ยังไม่ใช่จุดเข้า Buy ที่ดี เพราะถ้าจะกลับตัวจริง ต้องการแท่ง Bull เต็มๆอีกหนึ่งแท่ง เพื่อเอาชนะ Bear Trend ที่แข็งแรงแช่นนี้ได้ (ก่อนหน้านี้ มีแต่แท่งแดงลงมาต่อเนื่อง)





                ใน Figure 1.13, กราฟใหญ่ด้านขวา (กราฟ 5 นาที) ที่บริวณ 1 เห็น iii และ ที่ 2 เห็น ii, ถ้าไปดูในกราฟเล็กด้านซ้าย (กราฟ 1 นาที) จะเห็นว่า ที่บริเวณ 1 คือ Double Bottom Pull Back (Note ผู้แปล : จะมองว่า เป็น Triple Bottom ก็ได้, แต่ผู้แต่งตั้งใจสื่อว่า เราเห็น Double Bottom ก่อนแล้ว จะเข้าทำตอนย่อครั้งที่สาม จึงเรียก Double Bottom Pull Back)
                ส่วน 2ii เป็นลักษณะ ที่ราคาพยายามทำ Lower Low ให้ต่ำกว่าแท่งแดงใหญ่ก่อนหน้า 2ii แต่ไม่สำเร็จ
                ปกติ
ii จะเป็นสัญญาณบอกการกลับตัว ในที่นี้คือกำลังลงมาอยู่แล้วเกิด ii จากนั้นก็กลับตัวย้อนขึ้นไป ซึ่งในภาพนี้ ทั้งสองกรณี คือ 1iii และ 2ii จะมีแท่ง Bull ตบท้าย ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีมากในการที่จะเปิด Long, เพราะใน ii ปกติแล้วจะมีแท่งเล็กที่ไม่ใช่ตัวบอกทิศที่ดี ดังนั้นการจะมีแท่งเทรนขนาดพอสมควรเป็นตัวจบอยู่ใน ii ที่ไปในทิศที่เราต้องการจึงเป็นสิ่งที่ดีมาก



                ใน Figure 1.14, แท่ง 1 (สีขาวเล็กต่อจากแท่งแดงใหญ่) เป็น Double Bottom Twin ในเทรนขาลง ( Low เท่ากันสองแท่งติด) แบบนี้ให้เปิด sell ที่ราคาต่ำกว่า Low 1 ช่องราคา, หรือ อาจจะ sell ที่ต่ำกว่า แท่งพักตัวสีขาวแท่งที่สอง ต่อจากแท่ง 1 ซึ่งเป็นการเข้าเร็วขึ้น เสี่ยงขึ้น
                แท่ง
2 (แท่ง inside bar สีขาวเล็ก) ก็เป็นลักษณะเดียวกับ แท่ง 1, วิธีทำเหมือนกับ แท่ง 1 (ให้เปิด sell เมื่อเห็นราคาต่ำกว่า Double Bottom Twin)
                แท่ง 3 (แท่งสีแดงตัน ก่อนหน้าแท่งขาวใหญ่) เป็น Double Top Twin ที่ควรจะเปิด Long, วิธีมองเหมือนกันแท่ง 1 เพียงแต่กลับจาก Trend ขาลงเป็น ขาขึ้น (Note ผู้แปล: นั่นคือให้เปิด Long เมื่อราคาสามารถทำ New High ได้เหนือกว่า Double Top Twin นั้น)

(Note ผู้แปล : ตอนนี้ได้ดูตัวอย่างกราฟเยอะ แบบจุใจกันเลยทีเดียว, คราวหน้าจะมาดูตัวอย่างเยอะๆแบบนี้อีก, โปรดติดตามตอนต่อไป ^_^)

-------------- แปลโดย Rojer CmFX, www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 7  ---------------