วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

[Exit Strategy] Part 6: My Approach to Exits (1)

[Exit Strategy] Part 6: My Approach to Exits (1)
My Approach to Exits = วิธีการออกของฉัน

(Note ผู้แปล : ในบทนี้ซึ่งเป็นบทสุดท้าย (บทนี้จะถูกแตกออกเป็นอีกประมาณ สามตอนย่อย) จะมาพิจารณา วิธีออกของผู้แต่ง ที่เขาใช้ในการเทรดสั้น ระหว่างวัน)

ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการพิจารณา 1.เป้าหมายการเทรดของผม, 2.ธรรมชาติของตลาดที่ผมเทรด และ 3.ความเหมาะกับจิตวิทยาของผม, ทั้งหมดนี้จะนำมาใช้ในการบริหารการเทรด และ วิธีการออก
1. เป้าหมายการเทรดของผม : เป้าหมายสูงสุดของผมคือ การมีรายได้เข้ามาคงที่ (Note ผู้แปล : เขาหมายถึง ได้น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ) ผมไม่ได้หวังแจ๊คพอร์ตใหญ่ ถ้าได้แจ๊คพอร์ตมาบ้างก็ดี แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายหลักอยู่ดี, ฉะนั้น ผมไม่สามารถคอยรอเทรนใหญ่ๆอย่างเดียวได้, ผมจึงเทรดแบบ swing เล็กๆ และตั้งเป้าไว้ที่รายได้ที่สม่ำเสมอ, ผมยอมรับว่า ผมไม่ใช่เทรดได้กำไรทุกวัน แต่ผมก็ตั้งเป้าว่า ทุกสัปดาห์ต้องได้กำไร และที่แน่ๆ ต้องกำไรทุกเดือน, ดังนั้น ในการพัฒนาวิธีการออกของผม ต้องมุ่งเป้าไปที่ การมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีองค์ประกอบมาจาก ทั้ง % ชนะสูง(ชนะบ่อย) และ การใช้ความเสี่ยงที่น้อยๆ(Stop Loss แคบ), แม้ว่า เราจะทำให้ %ชนะบ่อยๆ เพิ่มขึ้นได้โดยการใช้ Stop Loss ที่กว้าง แต่ไม่ใช่ในกรณีของผม เพราะผมต้องการใช้ความเสี่ยงให้น้อยที่สุด, ผมเข้าใจและยอมรับถึงวิธีการเทรดของผม ในการวางออเดอร์บริเวณ แนวรับ/แนวต้าน ซึ่งทำให้มีโอกาสชนะสูงขึ้น และ ทำให้ การวาง Stop Loss ของผมแคบไปด้วย, นอกจากนี้ เพื่อจะควบคุมความเสี่ยงไว้ให้ต่ำ จะต้องไม่มีออเดอร์ที่เสี่ยงมากในระดับที่เสี่ยงต่ออาชีพทั้งอาชีพของผม กล่าวคือ การแพ้แต่ละครั้ง ต้องเล็กในระดับที่ สามารถกอบกู้ความเสียหายได้ด้วย การชนะในอีกวันได้


ตัวอย่างภาพการสอนเรื่อง "การวาง Stop Loss ที่ดี" ใน Advance Forex Class ของผู้แปล (Rojer FX), ซึ่งใกล้เคียงกับ วิธีวาง Stop Loss ของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้
(ติดตามการสอน Forex Class เพิ่มเติมได้ที่  http://www.facebook.com/rojer.fx.3 )


2. ธรรมชาติของตลาดที่ผมเทรด : ผมเกลียดมากเมื่อถูกถามว่า “คิดว่าคำพูดที่ว่า The Trend is your friend” เป็นจริงไหม? ถ้าจะตอบว่า Trend เป็นเพื่อนจริง ก็ต้องบอกเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า เพื่อนคนนี้นี่ เชื่อถือไม่ค่อยได้ด้วยนะ, สำหรับผมแล้ว การมาวิ่งตามเทรน เป็นสิ่งที่ขัดต่อ จิตวิทยาของผมมาก เพราะการพยายามตามเทรน ต้องอดทนต่อการ cut loss บ่อยๆ ซ้ำๆ ทำให้ทุนลดลงๆ ในระหว่างการรอให้เทรนใหญ่ให้เกิดขึ้นจริงๆสักครั้ง (Note ผู้แปล : ผมชอบเปรียบเทียบว่า การเป็น trend follower เป็นเหมือนซื้อหวย เพราะโอกาสถูกน้อย แต่ ถ้าถูกจะได้เยอะ)
ในตลาดฟอเร๊กซ์ มักจะเห็นเทรนสวยๆใน Time Frame ใหญ่, แต่จากประสบการณ์ของผม ซึ่งเล่นใน Time Frame เล็ก กลับไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น, ตลาดใช้เวลาส่วนใหญ่เป็น sideway ซะมากกว่าจะเป็นเทรน แม้ว่า บางครั้งพอเป็นเทรนทีก็วิ่งยาวออกไปไกลก็ตาม, ฉะนั้น ใน Time Frame ที่ผมเทรด ผมต้องใช้วิธีออก ที่ไม่ได้คอยเฝ้าหวังเทรน, ผมจึงเลือกวิธีตีกรอบของราคา แบบ Sideway Swing Trading เพราะผมรู้สึกว่าเหมาะสมกว่า
3. ความเหมาะกับจิตวิทยาของผม : ถึงตรงนี้มาดูกันว่า การเลือก 1.เป้าหมายการเทรด กับ 2.มุมมองต่อธรรมชาติของตลาด ของผม จะเข้ากับ นิสัยของผมหรือไม่,
อันดับแรกเลย คือ การรู้ตัวว่า แม้ว่าผมเกลียดการแพ้ แต่ยิ่ง เกลียดการแพ้ที่ไม่จำเป็นมากกว่าซะอีก , ดังนั้น ผมจะยอมแพ้ เมื่อระบบบอกให้ cut loss เพื่อไม่ให้ความเสียหายมากกว่าที่ควร, ผมยอมรับความเสียหายเที่เกิดจากการไร้วินัยไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น, ดังนั้น ผมจึงต้องมีแผนการออกที่ชัดเจนทุกครั้ง และ ต้องอยู่กับแผนตลอดการเทรด เพื่อให้มั่นใจว่า ความเสี่ยงยังอยู่ในแผนทุกอย่าง
อีกเรื่องที่ผมรับไม่ได้คือ การที่เห็น ออเดอร์เคยเป็นบวกอยู่แล้ว สุดท้ายออกด้วยลบ, ถ้าผมได้กำไรแค่เล็กน้อย หรือ เท่าทุน ผมยอมรับได้, แต่ถ้าปล่อยให้ออเดอร์เคยเป็นบวก แล้ว ย่อลงมาจนเข้าเขตลบ ผมจะตีตวามว่า ผมล้มเหลวในการบริหารออเดอร์นั้น, ฉะนั้นผมจึงคอยจ้อง ที่จะเลื่อน Stop Loss ตามมาที่ จุดเท่าทุนเสมอ (Note ผุ้แปล : เรื่องการ stop loss นี่ถูกสอนอย่างละเอียดใน Advance Forex Class by Rojer FX)
เรื่องสุดท้ายคือ จริงอยู่ว่าผมก็อยากจะจับเทรนได้เต็มๆเหมือนคนอื่น แต่ผมก็ไม่รู้สึกอะไรมาก ถ้าไม่ได้กินเทรนจนสุด, ผมพอใจกับการได้กำไรเล็กๆ แต่เรื่อยๆ ในจุดที่โอกาสงามๆ มากกว่า

ทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่ผมใช้พิจารณาเพื่อออกแบบวิธีออกของผม ซึ่งมี 1.เป้าหมายการเทรดของผม, 2.ธรรมชาติของตลาดที่ผมเทรด และ 3.ความเหมาะกับจิตวิทยาของผม, ในตอนหน้า เราจะมาดูรายละเอียดปลีกย่อย ลึกลงไปเพิ่มเติมกัน

(Note ผู้แปล : เนื่องจากผู้แต่งบรรยายยาวไปหน่อย ผมจึงช่วยสรุปให้เห็นภาพชัดๆนะครับ ว่า
1. เขาเลือก Stop Loss แบบแคบ, ส่วน % ชนะสูง ได้มาด้วยวิธีไปรอเข้าที่ แนวรับ/แนวต้าน
2.เขาเลือก Sideway Swing Trade ไม่ใช่ Trend Follow
3.เขาเลือกวิธีการเลื่อน Stop Loss โดยเฉพาะ รีบๆเลื่อนมายัง จุดเท่าทุน)

----------- แปลโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 6  --------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น