วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

[Price Action] Part 5 : ii Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)



[Price Action] Part 5 : ii Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)
ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 4)  เราได้พิจารณา Reversal Signal Bar แบบอื่นๆที่ดีพอสมควร, แบบย่อยแรก คือ Inside Bar เดี่ยว (Note ผู้แปล : ที่เรียกกันว่า Harami) ซึ่งพิจารณาไปแล้วในตอนที่แล้ว ส่วนตอนนี้จะมาดู แบบอื่นๆ กันต่อ

Reversal Signal Bar แบบ Small Bar
1. Inside Bar เดี่ยว (พูดไปแล้วในตอนที่แล้ว)

2. รูปแบบ ii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 2 แท่งต่อกัน)
รูปแบบ ii คือรูปแบบแท่งเทียนต่อกัน ที่มีแท่งเทียน inside bar สองแท่ง, แท่งแรกเป็น inside bar ปกติ (ราคาอยู่ภายในแท่งก่อนหน้าทั้งหมด), และมีแท่งที่สองเป็นแท่ง inside bar ของ inside bar แรกอีกทีหนึ่ง กล่าวคือ แท่งที่สองจะเล็กกว่า หรือ เท่ากับแท่งแรก (และจะมีรูปแบบ iii จะมีสามแท่งติด และจะให้สัญญาณชัดยิ่งกว่า)
ใน Time Frame ใหญ่กว่าเช่น 5min ถ้าพบรูปแบบ ii, หากมองละเลียดเข้าไปใน Time Frame เล็กกว่าเช่น 1min จะพบว่า มันคือรูปแบบ แบบ Double Bottom/Top ซึ่งมักจะเป็นการกลับตัว (อาจจจะเป็นเพียงแค่การย่อเล็กๆ หรือกลับตัวใหญ่เลย), นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมรูปแบบ ii อาจจะนำไปสู่การกลับตัวนั่นเอง
หลังจากราคามีการวิ่งระเบิดออก, โดยเฉพาะถ้ามีการทะลุ Trend Line ออกไปตามเทรนเดิม, แล้วเกิดรูปแบบ ii ขึ้นที่บริเวณแนวต้าน/รับหลัก มีโอกาสสูงที่จะเกิดการกลับตัวก่อนจะถึงเวลาอันสมควร (เป็น Failed Final Flag), แต่ถ้าเป็นการทะลุ Trend Line แบบสวนเทรนเก่า (การกลับตัวจาก Failed Final Flag) มักจะก่อให้เกิดการกลับตัวครั้งใหญ่ไปเลย


รูปแบบ ii นี้มักจะพบได้บ่อยใน Final Flag เพราะมันเป็นการแสดงถึง การมีแรงเท่ากันระหว่าง Bull กับ Bear แล้วนั่นเอง, มันแสดงว่า พลังของฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มเท่ากับฝ่ายที่แข็งแรงกว่าแล้ว อย่างน้อยก็เท่ากันชั่วคราว, ถ้าเจอรูปแบบนี้ แปลความได้ว่า ฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มพยายามเอาชนะ เมื่อเกิดการ Break out ตามเทรนเดิม
Stop Loss ของการเข้าออเดอร์แบบ ii คือ ที่ตำแหน่งไกลกว่า ปลายของทั้งสองแท่ง  ii, แต่บางครั้งก็อาจจะเลือกใช้ Stop แบบแคบ โดยวางไว้ที่ ปลายของแท่งที่เล็กกว่าก็ได้ ถ้าแท่งเล็กนั้นค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว,  หลังจากเข้าออเดอร์แล้ว เมื่อแท่งเทียนที่เราเข้าหมดเวลา ก็ให้เลื่อน Stop Loss เข้ามา และ ตามดูอย่างใกล้ชิดว่า จะกลับตัวจริงหรือไม่, ถ้าเข้าถูก ราคาควรจะกลับตัวในระยะไม่กี่แท่งเทียนต่อมา ถ้าไม่กลับอาจจะเป็น Failure, ซึ่งพบได้บ่อย ในกรณี Break out, โดยเฉพาะถ้า รูปแบบ ii นี้เกิดตรงกลางของช่วงราคาการเทรดระหว่างวัน

Small Bar อาจไม่ใช่สัญญาณเข้าที่ดีเสมอไป โดนเฉพาะถ้าเจอรูปแบบ Small Doji (ยิ่งถ้าไม่มี body เลยนี่ยิ่งแย่ไปใหญ่) ซึ่งเกิดใกล้ๆกับ EMA และเกิดประมามณ 9-11 am , รูปแบบนี้มีโอกาสสูงมากที่จะล้มเหลว จึงจำเป็นต้องดู Price Action อื่นๆ ก่อนจะเข้าเทรด (Note ผู้แปล : การเกิด Doji เป็นสัญญาณ Sideway อยู่แล้ว, ยิ่งเกิดตรง EMA ซึ่งเป็นค่ากลางของราคา, และในยามเช้าๆตอนตลาดนิ่งๆ, หากคิดจะเข้าออเดอร์เพื่อหวังให้มันวิ่งแล้ว โอกาสจะผิดหวังก็คงจะสูงมาก)

3.รูปแบบ แท่งคู่
ถ้าตลาดเป็น Bull อย่างแรง, บางครั้งจะมีแท่งเขียวสองแท่งที่ทีความสูงเท่ากัน และ มักจะมีใส้บนสั้นๆ, นี่คือ Double Top Twin ใน Time Frame ใหญ่ และ Double Top ใน Time Frame เล็ก เช่น 1min, กรณีแบบนี้ ให้ เตรียมเข้า Long เมื่อราคาขึ้นไปสูงกว่าเดิม คือที่ปลายบนของแท่งคู่นั้น เพราะเรากำลังคาดหวัง Failed Double Top และที่ตำแหน่งนี้จะมี Stop Loss ของผู้เล่นฝั่ง Short อยู่, ซึ่งจะเป็น order ที่เข้า buy เป็นการช่วยเร่งเครื่องให้แก่ตลาด Bull ให้ขึ้นไปต่ออีกเมื่อมาถีงราคานี้ (Note ผู้แต่ง : กรณีนี้เป็นกรณีที่ ตั้งใจเล่นกับ False Signal, การเกิด Double Top ในกรณีทั่วไป ให้มองว่าจะลง, แต่ในกรณีพิเศษนี้เพราะตลาดเป็น Bull มากๆ, ผู้แต่งจึงแนะนำให้เล่นกับ Double Top แบบล้มเหลวไปเลย คือ ให้มองว่าจะขึ้น แม้จะเกิด Double Top, เป็นแผนซ้อนแผนอีกที) เช่นเดียวกับกรณีเมื่อกี้, ในภาวะที่ ตลาดเป็นเทรนขาลงหนักๆ ให้เข้า Short ตามที่ปลายล่างของ Double Bottom Twin
รูปแบบแฝดคู่ ขึ้น-ลง, กับ ลง-ขึ้น ถูกเรียกด้วยหลายชื่อ, แต่ทั้งสองแบบ มีแท่งเทรนสองแท่งสีตรงข้ามกัน ขนาดพอๆกัน แล้ว overlap กัน (อาจเรียกว่า คู่แฝดตรงข้าม), ในรูปแบบ ขึ้น-ลง, แท่งแรกคือ แท่งเทรนขึ้น(สีเขียวใหญ่) แท่งที่สองคือ แท่งเทรนลง(สีแดงใหญ่) ซึ่งในกรณีนี้เป็นรูปแบบสำหรับ การเข้า Sell (ถ้าตลาดไม่ได้อยู่ในสภาวะ sideway), ส่วนรูปแบบ แฝดคู่ ลง-ขึ้น ก็แป็นลักษณะที่เกิดจาก แท่งแดงใหญ่ตามด้วยแท่งเขียวใหญ่ ซึ่งจะเป็นรูปแบบสำหรับการเข้า Buy, ทั้งสองแบบนี้ ก็คือ รูปแบบกลับตัวที่ใช้สองแท่งเทียน ซึ่งถ้าไปมองใน Time Frame ที่ใหญ่ขึ้น มันจะกลายเป็นรูปแบบกลับตัวด้วยแท่งเดียว, ลองจินตนาการดูว่า ถ้าใน time frame 5 minute มีแท่งแฝดคู่ สองแท่งแบบนี้ แล้ว พอไปดูใน 10 minute สองแท่งนี้จะรวมกันได้เป็นแท่งเดียว หน้าตาเป็นใส้ยาวๆ ซึ่งแสดงถึงการกลับตัวนั่นเอง)



4.รูปแบบ แท่งเทรนใหญ่หัวตัน
สำหรับแท่งเทรนใหญ่ (แท่งใหญ่หัวตัน) ที่เกิดในเทรนที่แข็งแรง ย่อมเป็นสัญญาณบอกว่า ตลาดกำลังมุ่งหน้าไปทิศทางเดียว ไม่ว่าจะไร้ใส้เทียนด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน, แต่อย่างไรก็ตาม ในเทรนขาขึ้น หัวตันข้างบน ย่อมแสดงถึงความแข็งแรงในการขึ้น มากกว่า การที่หัวตันด้านล่าง นั่นเป็นเพราะแรงจำนวนมากที่บริเวณใกล้ๆราคาปิดด้านบน มาแสดงการดันราคาขึ้นไปต่อให้สูงกว่าเดิมนั่นเอง, ดังนั้น แท่งเขียวใหญ่หัวตัน เป็นสัญญาณที่ดีในการเข้า Buy, แต่ปกติแล้วมักจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าที่ตำแหน่ง ยอดหัวตันพอดี เพราะเมื่อเปิดแท่งเทียนใหม่ (ต่อจากแท่งเขียวหัวตันเมื่อกี้) ราคาก็มักจะกระโดดขึ้นไปสูงกว่านั้นแล้ว
ในกรณีที่เจอแท่งเทรนเขียวใหญ่ที่มีใส้บน 1 จุด หรือ เป็นแบบหัวตันด้านล่าง ก็ยังนับว่าเป็นสัญญาณที่แข็งแรง (เทียบกับ เขียวหัวตันด้านบน ซึ่งจะให้สัญญาณแข็งแรงกว่า), แน่ในกรณีนี้ มองแค่เหตุผลนี้ ยังไม่ดีพอสำหรับการเข้าซื้อ Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า High ของแท่งเขียวใหญ่นี้ ดังนั้นเราควรจะพิจารณาบริบท สิ่งแวดล้อมประกอบด้วย เช่น ถ้าแท่งเขียวใหญ่ ใส้บน 1 จุดนี้ เกิดในบริเวณ High เดิมของตลาด Sideway ที่มีขอบบนของ Channel ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปเข้า Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า ด้านบนของแท่งเขียวใหญ่นี้, เพราะแท่งเขียวใหญ่นี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบขอบบน แล้วย้อนลงมา ซึ่งมีโอกาสสูงกว่าจะเป็นการ Break Out ออกไปสำเร็จนั่นเอง
เทียบเคียงกับ กรณีแท่งเขียวใหญ่หัวบนตัน, แท่งแดงใหญ่ หัวล่างตัน ในตลาดหมีอย่างแรง ก็จะเป็น สัญญาณเข้า Sell ตามที่ 1 tick ต่ำกว่าราคา Low ของแท่งแดงใหญ่นั้น
แม้ว่าแท่งเทรนใหญ่ ที่มีทิศเดียวกับเทรนหลักนั้น ปกติแล้วจะแสดงการไปต่อ, แต่ถ้าเกิดแท่งเทรนที่ใหญ่ผิดปกติ มักจะเป็น แท่งหมดแรงแทน, เช่นในตลาดกระทิง แท่งเทรนสีเขียวใหญ่ผิดปกตินั้นจะแสดงถึงการซื้อไม้สุดท้าย ก่อนจะกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องแท่งเทียนใหญ่หลอกนี้ ในตอนที่ 1 แล้ว), แม้ว่าสัญญาณการกลับตัวใดๆ สามารถใช้เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์ได้ แต่การรอจังหวะสอง คือรอแท่งเทียนกลับตัว เป็นการเข้าที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าจะเล่นสวนเทรน
นอกจากนั้นก็ต้องระวังเรื่อง แท่งเทรนใหญ่ ที่เกิดตอน Break out มักจะไปต่อไม่ไหวในแท่งต่อมา กลายเป็นกับดักที่ทำให้มีเทรดเดอร์ที่ซื้อผิดทางติดอยู่ในนั้น ไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องการ Break out Trend Line มักจะถอยกลับมาทดสอบ Trend Line และ Low เดิมก่อนบ่อยๆ) , ซึ่งจะพบได้บ่อยในตลาด Side way เงียบๆ



ในสภาวะเป็นเทรน, ถ้าราคาพักตัว แล้วเกิด small bar นั่นเป็นสัญญาณให้เล่นตามเทรน, ใน Fig 1.7, แท่ง 1, 2, 4 และ 6 เป็นการพักตัวแล้ว เกิด small bar, และ สิ่งที่พวกมันส่งสัญญาณคือ ให้ Short ไปตามเทรนขาลง, โดยให้ตาม เมื่อราคา ต่ำกว่า Low ของแท่ง 1, แม้ว่าพวกมันจะเป็น Doji แต่พวกมันก็ไปตามเทรนใหญ่ ดังนั้นการ Short นี้ถือว่ามีเหตุผล
Small Bar อาจจะเป็นสัญญาเข้า Counter Trend ถ้ามันเกิดที่ Swing Low และถ้ามีเหตุผลอื่นๆ ในการเข้า Counter มาช่วยอีกด้วย, แท่ง 3 เป็น Swing Low, และเป็นชุดกลับตัวจากการลงมา (ที่เริ่มลงจาก แท่ง 2) แล้วแท่ง 3 ยังเป็น ขาลงที่สอง ในขาลงที่สองด้วย (Not ผู้แปล : คิดว่าผุ้แต่ง คงจะพูดเรื่อง ขาที่สอง ในบทอื่นภายหลัง) ซึ่งสองเหตุผลรวมกัน ทำให้แท่ง 3 เป็นสัญญาณ Counter Long ที่ดี (เพื่อขึ้นไปสู่ แท่ง 4 ที่เกิดต่อมาภายหลัง), แท่ง 5 เองก็เป็นสัญญาณ Long เพราะราคาเคยทำการ Break Trend Line มาแล้วตอนเกิดชุด 4, ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะกิดขาที่สอง ในการขึ้นไป และ แท่ง 5 ยังอยู่ตำแหน่ง Swing Low เดิมในสภาวะ Side Way ด้วย


ในกรณีเดียวที่ สามารถเปิด sell ที่ Low ได้คือ กรณีที่ตลาดเป็นตลาดหมี, แท่ง 8 ในรูปแม้ไม่ใช่ small bar แต่ก็เป็น inside bar ซึ่งทำหน้าที่เหมือน small bar และ แท่ง 8 ก็เป็น Trend Bar ด้วย, ดังนั้นจึงปลอดภัยพอที่จะเปิด sell ที่ Low ของวัน, นอกจากนี้ แท่ง 8 ยังเป็น แท่งลักษณะแบบ ย่อตัวถอยกลับ หลังจาก Break out ใหม่ๆ, แท่ง 8 จึงเป็นสัญญาเข้า sell ที่ดี
  -------------- แปลโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 5  ---------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น