วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

[Exit Strategy] Part 9/9 : The Conclusion

[Exit Strategy] Part 9: The Conclusion

บทนี้เป็นบทเพิ่มเติมจาก หนังสือหลัก ซึ่งผม, ผู้แปล (Rojer FX), เขียนสรุปขึ้นมาเอง เพื่อนำใจความ
สำคัญมารวมไว้ให้เป็นบทเดียว จะได้ง่ายต่อการทบทวน และ มาอ่านสรุป
----------------------------------------------------------------------------------
                ในบทแรกของหนังสือเป็นการพูดถึงภาพกว้าง และ เริ่มแนะนำวิธีออกแบบต่างๆ
                ในการเทรด คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ จุดเข้ามากกว่า จุดออก”, แต่ผู้แต่ง (Lance
Beggs) เชื่อว่า การออกเป็นสิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการเทรด มากกว่า การเข้า”, เขาจึงเริ่มจาก
ยกตัวอย่างกราฟหลายๆแบบให้เราเห็นถึงความสำคัญว่า ถ้ามีแผนการออกดีๆ จะมีโอกาสชนะมากขึ้น และ
ได้จำแนกรูปแบบการออกเป็น 2x2 ประเภท
                1. วิธีออกด้วยการแพ้
ผู้อ่านอาจจะแปลกใจที่ เขาสอนวิธีรับมือกับความพ่ายแพ้ก่อนจะเล็งชัยชนะ ซึ่งตรงนี้เป็นจิตวิทยาที่ถูกต้อง
แต่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบ และไม่อยากยอมรับ, การจะอยู่รอดให้ได้อย่างยั่งยืนในตลาดสิ่งสำคัญคือ "การอยู่
รอด" ก่อนจะเป็น "การเติบโต" ดังนั้นการฝึกเอาตัวรอดจึงสำคัญสุด เขาจึงสอนให้รู้จักวิธีจำกัดความเสีย
หายในแต่ละครั้ง โดยสอนเรื่อง Stop Loss เป็นอันดับแรก
                (1.ความกว้างของ Stop Loss ที่วาง ตอนเข้าออเดอร์)
1a. Stop แบบกว้าง : จะเป็นการวาง Stop แบบที่เรียกได้ว่า กล้าได้ กล้าเสีย, คือ จะมีโอกาสที่จะได้
Trend ชุดใหญ่ เพราะทนการแกว่งได้มาก แต่ถ้าชน Stop ขึ้นมา ก็จะเสียมากเพราะมันกว้างนั่นเอง
1b. Stop แบบแคบ : เป็นการวาง Stop แบบ Play Safe, คือ ความเสียหายแต่ละครั้งจะน้อย แต่โอกาส
จะได้ Trend ชุดใหญ่น้อยลง และ จะชน Stop บ่อยขึ้น
(ส่วนวิธีเทรดโดยไม่มี Stop Loss นั้น ผู้แต่งมองว่ามันเป็นการพนัน ไม่ควรทำไม่ว่าในกรณีใดๆ)
               
                ซึ่งจากตรงนี้ ยังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมมากนัก นำเสนอแค่ทฤษฏีก่อน ภายหลังจะเอาเรื่อง
นี้ไปรวมกับบทจิตวิทยา ก็จะได้เห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม, หากจะมองว่าตรงนี้มีสิ่งที่เป็นรูปธรรมก็คือ "ต้องมี
Stop Loss ทุกออเดอร์"

                2. วิธีออกด้วย ชัยชนะ
2a. แบบวาง Target Point ไว้ ณ ราคาเป้าหมายที่เลือกไว้ล่วงหน้า : แบบนี้เหมาะกับตลาด Sideway
2b. แบบเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลัง : แบบนี้เหมาะกับตลาด Trend

                ซึ่งจากตรงนี้ เราได้เรียนรู้สิ่งแรกที่เป็นรูปธรรมเลย คือ ถ้าเราเดาว่า ตลาดเป็น Sideway ให้
เลือกการวาง TP ที่ขอบของ Channel ของ Sideway Channel (คือ แบบ 2a)


                แต่ในกรณีตลาดเป็น Trend, เนื่องจากเราไม่รู้ว่า มันจะสุดเทรนที่ไหน เมื่อไหร่ เราก็กำหนด
ล่วงหน้าไม่ได้ แต่เราก็อยากจะวิ่งตามเทรนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่หักหัวเลี้ยวกลับซะก่อน แบบนี้ ก็ควรเลือก
วิธีออก โดยการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลัง (แบบ 2b)
-----------------------------------------------------------------------------------
                บทต่อมา ผู้เขียนพูดถึงเรื่อง จิตวิทยาการเทรด และ ความเข้ากันได้ของ รูปแบบการออกต่างๆ
กับ จิตวิทยาการเทรดของแต่ละบุคคล โดยยกตัวอย่างกรณีระบบของเขาเป็น ต้นแบบในการศึกษา
เริ่มโดยเผย จิตวิทยาความเชื่อของเขาก่อน

ความเชื่อ #1 : ไม่มีกฎตายตัว สำหรับทุกๆสถานการณ์, เขาเชื่อว่าในแต่ละสถานการณ์ จะมีรูปแบบออกที่
ดีแตกต่างกันไป : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เราต้องอ่านกราฟแล้วเลือกรูปแบบการออกให้เหมาะ
อย่าไปยึดอยู่กับวิธีออกหนึ่งๆทุกการเทรด (แต่อาจจะมีแบบหลักได้ แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นแบบนั้นทุกครั้ง)

ความเชื่อ #2 : ไม่มีวันที่จะทำให้ วิธีออกสมบูรณ์แบบ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ อย่าไปยึดติด
ว่า จะเอากำไรสูงสุด (Maximum Profit) โดยต้องรับภาระเสี่ยงต่อการเลี้ยวกลับ แต่ให้เล็ง กำไรที่
เหมาะสม (Optimum Profit) คือ มีกำไร แต่ไม่เสี่ยงเกินไป

ความเชื่อ #3 : การเทรดเสีย จะสร้างความเสียหายที่แท้จริงที่จิตใจ ไม่ใช่ทางด้านการเงิน : สิ่งที่เราเรียน
รู้ได้อย่างรูปธรรมคือ อย่าเล่นโดยไม่มีวินัย อย่าเล่นนอกแผน โดยเฉพาะอย่าเล่นแบบไม่มี Stop Loss

ความเชื่อ #4 : แผนที่ใช้ออก ต้องออกแบบให้เหมาะกับจริตของตัวเอง : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ
ต้องเข้าใจตัวเองว่า เป็นคนที่ชอบอะไร แล้วเลือกระหว่าง ได้มากเสียมาก กับ Play Safe, และให้
ตระหนักไว้ว่า มีวิธีการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลังเทรน ซึ่งเหมาะกับคนที่ชอบ Play Safe

ความเชื่อ #5 : การป้องกัน สำคัญกว่า การบุก : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ต้องวางแผนการออกให้ดี
แล้วฝึกให้หนัก ฝึกให้คล่อง เพราะคนส่วนมากสนใจแต่แผนเข้า ไม่สนใจแผนออกกันเท่าไหร่

ความเชื่อ #6 : รูปแบบการออก แต่ละแบบ ใช้ได้ดีกับ ตลาดที่แตกต่างกันไป : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่าง
รูปธรรมคือ, ในตลาด sideway แกว่งตัว :  การออกด้วยวิธี ตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า แบบ
Trailing Stop, ในตลาดเป็นเทรนแบบราบเรียบ ไม่ค่อยแกว่ง: Trailing Stop จะทำกำไรได้ดีกว่า แบบ
ตั้งเป้าล่วงหน้า, ในตลาดที่เป็นเทรนที่แกว่งตัวรุนแรง : การออกด้วยวิธี ตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า
Trailing Stop

ความเชื่อ #7 : การเลือกวาง Stop Loss จะต้องได้อย่างเสียอย่าง ระหว่าง ความถี่ในการชนะ กับ อัตรากำไรเฉลี่ย ชนะ/แพ้  : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ต้องเข้าใจว่า ได้อย่างเสียอย่าง ระหว่าง ชนะบ่อย กับ
อัตรากำไรเฉลี่ยดี, แล้วก็ให้เลือกสิ่งที่ตัวเองชอบ ไว้ใช้เป็นระบบออกหลัก , ถ้าชอบชนะบ่อย แต่ได้น้อย ให้เลือก
Stop Loss กว้าง (ซึ่งการออกแบบนี้จะมาพร้อมๆกับ นานๆเสียทีแต่เสียเยอะ), ทางตรงข้าม ถ้าชอบ อัตรากำไร
เฉลี่ยดี ก็ให้เลือก Stop แคบ เพราะ เวลาชน Stop ความเสียหายจะน้อย ซึ่งทำให้ตัวหารน้อย อัตรากำไรเฉลี่ยเลยดีขึ้น

ความเชื่อ #8 : ให้วาง Stop Loss ในตำแหน่งที่ เป็นจุดตัดสินว่า การวิเคราะห์ตลาดของเราผิดทางแล้ว :
สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ให้วาง Stop Loss ตามแนวรับ แนวต้านต่างๆ, อย่าวางโดยใช้การ
คำนวณว่าจะ Stop loss กี่ % ของทุนเพียงอย่างเดียว

ความเชื่อ #9 : เมื่อความได้เปรียบหมดไป ให้ออกจากตลาด: สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เราไม่จำ
เป็นต้องรอจน ราคาชน TP หรือ SL เท่านั้น, เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่า เริ่มผิดทาง ลังเล หรือ ไม่แน่ใจ, ให้ปิด
ออเดอร์ทันที ไม่ว่าจะบวกหรือลบอยู่ก็ตาม อย่าไปเสี่ยงอยู่กับสภาวะตลาดที่เราดูไม่ออก
---------------------------------------------------------------------------------------------------
                บทสุดท้าย, บทที่ 3, ผู้แต่งยกตัวอย่าง ระบบการออกของเขา เป็นต้นแบบ (Study Model) ว่า
ทำไมเขาถึงเลือกวิธีนั้นๆ เป็นแผนการออกของเขา แล้วเราควรจะเลือกอย่างไร ควรเหมือนหรือแตกต่าง
จากเขา? โดยพิจารณาปัจจัยในการเลือกดังนี้

1. เป้าหมายการเทรด : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เขาเลือกใช้ Stop Loss แบบแคบ
โดยเพิ่มความถี่ในการชนะให้มากขึ้นอีก ด้วยวิธีการที่เสริมเพิ่มขึ้นมา คือ พยายามเข้าออเดอร์ก็ต่อเมื่อมั่น
ใจ เช่น อยู่ใกล้แนวรับ แนวต้าน ที่คาดเดาได้ว่า จะผ่านหรือไม่ผ่าน แล้วก็เข้าที่บริเวณนั้น แล้ววาง Stop
Loss ไว้ที่แนวรับ แนวต้านใกล้ๆอันนั้น จึงทำให้วาง Stop Loss ได้แคบ แต่โอกาสชนะเยอะ

2. ธรรมชาติของตลาด: สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ความเข้าใจว่า ตลาด Forex ส่วน
ใหญ่เป็น sideway มากกว่าเทรน ดังนั้น การเล่นแบบ sideway jumper เป็นสิ่งที่ทำกำไรได้มากกว่า แต่ก็องมี Stop Loss ทุกครั้งเผื่อตลาดเป็นเทรนขึ้นมา

3. ความเหมาะกับจิตวิทยา : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ต้องเข้าใจตัวเอง แล้วก็เลือก
ระบบการออก โดย 3.1.ให้เหมาะกับสภาวะตลาด 3.2.ให้หมาะกับจิตวิทยาของตัวเอง
               
จากนั้นหนังสือก็พูดถึงรายละเอียดลึกลงไปในวิธีการวาง Stop Loss
                1.การวาง Stop Loss ตอนเข้า จะต้องแคบ แต่ก็ต้องกว้างพอจะทนการแกว่งในระดับ noise
ได้ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ให้วาง Stop Loss ไว้ที่แนวรับ แนวต้านอันถัดไป โดยให้เผื่อเพิ่ม
อีกเล็กน้อย

                2.ธรรมชาติของวิธีเข้าของผมคือ ถ้าเข้าถูกจริง ราคาจะวิ่งไปทางที่ผมต้องการอย่างเร็ว : สิ่งที่
เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ ถ้าเข้าไปแล้วราคายังไม่ยอมไปในทางที่เราต้องการ ก็ให้ cut loss ทิ้งเลย,
และ ถ้าเป็นการเล่นสวนเทรน กำไรแล้วให้รีบๆออก

3.การบริหาร ออเดอร์ระหว่างการถือ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ เราสามรถแบ่ง
ออเดอร์ออกเป็นส่วนย่อยได้ ส่วนแรกให้ปิดเพื่อ Lock Pofit ก่อนส่วนหนึ่ง เมื่อมีกำไรแล้วก็สามารถนำไปเป็นทุนให้ส่วนที่เหลือ เอาไปลุ้นต่อได้ โดยจะเลือกใช้ Stop กว้างขึ้นเพื่อกินเทรนใหญ่ หรือ จะเลื่อน Stop ไล่ตามหลัง ก็ได้ นั่นคือ เพิ่มความยืดหยุ่นสูงขึ้นนั่นเอง
               
4.กำหนดการออกข่าวเศรษฐกิจ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรมคือ สำหรับคนที่เทรด Time
Frame เล็ก ควรจะปิดหนีข่าว เพราะวงสวิงมันจะกว้าง จนกินกราฟใน Time Frame เล็กซะมิดนั่นเอง
และ ผู้แต่งก็ยังเตือนว่า ระบบที่ใช้เป็นตัวอย่างเป็นระบบของเขา ออกแบบโดยเขา เพื่อเขาคน
เดียว ฉะนั้น ถ้าผู้อ่านจะนำไปใช้ก็ให้ ปรับแต่งให้เหมาะกับ จิตวิทยาและเงื่อนไขต่างๆตามแต่ละคน และ
ทดสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้จริง
               
ในส่วนสุดท้ายเป็นการยกคำแนะนำสำคัญๆมาจาก บรรดาอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งสรุปใจความ
หลักๆได้คือ ทุกคน จะให้ความสำคัญกับ "การแพ้" มากๆ
1.การแพ้เป็นเรื่อง ธรรมชาติ, เมื่อแพ้ขึ้นมาก็อย่ายึดติด ให้จบไปแล้วเริ่มออเดอร์ใหม่
                2.ให้คิดว่า ตัวเองจะเป็นผู้แพ้ ไว้ก่อน, เตรียมใจและพร้อมจะคัทลอสไว้เสมอ
                3.ตกรถ ดีกว่าขึ้นผิดคัน, ถ้ารู้สึกว่าท่าไม่ดี ให้ปิดไปก่อน อย่าเสี่ยงถือในสภาวะที่ไม่แน่ใจ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
                ถึงตรงนี้ก็เป็นอันจบโปรเจคการแปลหนังสือเล่มนี้ "The importance of Exit Strategy" แล้วครับ, หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ
                โปรเจคหน้าก็คงเป็นการแปลหนังสือ Price Action ที่ค้างอยู่, แต่ถ้าใครคิดว่า มีหนังสือดีๆอยากให้แปล ก็ติดต่อผมมาได้เลยนะครับ email: wiroaj@hotmail.com ถ้าหนังสือที่อยากให้แปลนั้นสั้น ผมอาจจะแทรกให้ก่อน เพราะหนังสือ Price Action หนามาก คงต้องแปลเป็นปี, ผมจะแปลหนังสือดีๆให้เทรดเดอร์ทุกท่านฟรีครับ แต่ขอเผยแพร่สู่สังคมทีเดียวไปเลยนะครับ เพื่อให้สังคมการเทรดของไทย พัฒนายิ่งๆขึ้นไปนะครับ
                แนะนำตัวตอนท้ายหน่อยละกัน ผมชื่อ Rojer FX นะครับ  , เป็นเทรดเดอร์ สอนการเทรด และงานอื่นๆเกี่ยวกับการเทรด (แปลหนังสือ เขียนบทความ etc…), ถ้าใครเล่น facebook ก็มาเป็นเพื่อนกันนะครับ http://www.facebook.com/rojer.fx.3,  และ ติดตามผลงานของผมได้ที่ ChiangMai Forex นะครับ http://www.facebook.com/pages/Chiangmai-Forex/275391639215535

---แปลและแต่งโดย Rojer FX, http://www.facebook.com/rojer.fx.3 , จบ Part 9 (จบบริบูรณ์)--

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดีๆ ขอให้นำความรู้ดีๆแบบนี้มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกันแบบนี้อีกนะครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

    ตอบลบ